News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2023
Su M Tu W Th F Sa
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31
             
 Today is December 11, 2023
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การศึกษา

วิจัยวัดแอดมิชชั่น
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวถึงกรณีที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นให้ชัดเจน ว่า จากการหารือร่วมกับ รมว.ศธ. เห็นสอดคล้องกันว่าระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาควรเป็นระบบที่มีความหลากหลาย เหมาะสม และสามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนได้ตรงตามที่คณะ/สาขาต้องการ เป็นระบบที่มีความเป็นธรรม และไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ดังนั้นการรับนักเรียนเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องมี 2 ระบบ คือระบบรับตรง และระบบแอดมิชชั่น จึงจะตอบโจทย์ได้
หนังสือพิมพ์มติชน:  7 พ.ย. 57 
 
ศธ.ไฟเขียว"ตั๋วครูชั่วคราว"เปิดทางสอน86สาขาอาชีวะ
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นสอดคล้องกันว่า ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ควรเป็นระบบที่มีความหลากหลาย เหมาะสม และสามารถคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนได้ตรงตามที่คณะ/สาขาต้องการ เป็นระบบที่มีความเป็นธรรม และไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  7 พ.ย. 57 
 
หนุนแบ่งสัดส่วนให้ชัดแอดมิชชั่น
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยว่า จากการหารือเรื่องระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันที่ต้องการให้เป็นระบบที่มีความหลากหลาย
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  7 พ.ย. 57 
 
'มศว'วิจัย'รับตรง-แอดมิสชั่นส์'ชงศธ.เคาะใครเจ๋งเพิ่มสัดส่วน
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธาน กมธ.การศึกษาและกีฬา สนช.คนที่ 1 เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ เห็นสอดคล้องกันว่า ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ควรเป็นระบบหลากหลาย คัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าเรียนได้ตรงตามคณะและสาขาที่ต้องการ เป็นระบบที่มีความเป็นธรรม และไม่สร้างภาระให้กับเด็กและผู้ปกครอง ดังนั้นการรับนิสิตนักศึกษาจึงจำเป็นต้องมี 2 ระบบ คือ ระบบรับตรงและระบบแอดมิสชั่นส์ จึงจะตอบโจทย์ข้างต้นได้
หนังสือพิมพ์มติชน:  7 พ.ย. 57 
 
สทศ.รอฟัง"ณรงค์"แจงลดสอบโอเน็ต
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาฯ สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า ทปอ.ได้ทำวิจัยระบบการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยศึกษาเปรียบเทียบเด็กที่เข้าเรียนระบบรับตรงกับระบบแอดมิชชั่น หากผลวิจัยออกมาว่า เด็กที่เข้าศึกษาในระบบใดมีคุณภาพ ในอนาคตมหาวิทยาลัยก็ควรเพิ่มสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบดังกล่าวให้มากขึ้น ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าควรจะจัดสัดส่วนการรับเด็กเข้าเรียนในระบบใดมากกว่ากัน
ศ.ดร.สมคิด
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  7 พ.ย. 57 
 
'ณรงค์'ยันไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยกรณีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งในโอกาสทรงบรรยายพิเศษเรื่อง "อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการ พัฒนาประเทศ" ว่ามีเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน และที่ผ่านมาจะแก้ปัญหาโดยใช้ระบบไอซีที การเรียนการสอนทางไกล ศูนย์การเรียนชุมชน ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน
หนังสือพิมพ์มติชน:  6 พ.ย. 57 
 
สนองดำรัสพระเทพฯปรับวิธีบริหารจัดการเด็กได้เรียนใกล้บ้าน
ความคืบหน้าภายหลังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งในโอกาสทรงบรรยายพิเศษเรื่อง "อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ" ว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเดินทางไกล เพราะบางคนกว่าจะเดินถึงโรงเรียนก็เย็น เรียนมา 4 ปีปรากฏว่าไม่รู้หนังสือ หรือนักเรียนบางคนที่ได้คะแนนไม่ดี เพราะเรียนกับทีวี ขณะที่ในเมืองมีนักเรียนห้องละ 50-60 คนนั่งเบียดเสียดกัน
หนังสือพิมพ์มติชน:  5 พ.ย. 57 
 
ศธ.รับสนองพระราชดำรัสจัดการศึกษา
จากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสในโอกาสทรงบรรยายพิเศษเรื่อง "อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ" เมื่อเร็ว ๆ นี้ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า พระองค์ท่านทรงแนะนำแนวทางการจัดการศึกษาในอนาคตว่า ขณะนี้คนมีอายุยืนขึ้น ดังนั้นต้องให้ผู้สูงอายุสามารถเรียนได้ในทุกหลักสูตรและทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อ นั้น ในส่วนของอุดมศึกษาจะต้องเปิดโอกาสให้คนทุกช่วงวัยที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้เรียนมากขึ้น จากที่ผ่านมาก็มีการเปิดโอกาสอยู่แล้ว
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  5 พ.ย. 57 
 
พระเทพฯทรงห่วงเด็กขาดศึกษาร.ร.ใกล้บ้านถูกยุบ-4ปีอ่านไม่ได้
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายเรื่อง "อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ" ตอนหนึ่งว่า ในอดีตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงปฏิรูปการศึกษา และการจัดการศึกษาเพื่อ ปวงชน โดยทรงมีพระราชดำรัสว่า "ไม่ว่าใคร จะเป็นลูกใคร หรือเป็นพระโอรส พระธิดาของพระองค์เอง หรือเป็นลูกของใครที่ไหนในประเทศไทย ต้องจัดให้มีโอกาสทางการศึกษาได้เท่าเทียมเท่ากัน ซึ่งตามหลักการแล้ว คนไทยทุกคนต้องมีโอกาสทางการศึกษา สามารถอ่านออกเขียนได้ เพื่อไม่ให้ถูกหลอก ทำงานเพื่อประเทศชาติได้ เพื่อตัวเองได้ รู้หนังสือ รู้วิชาชีพ" ตรงนี้ต่อไปในอนาคตต้องขยายมากกว่านั้น ไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่ต้องเป็นทุกคนที่อยู่ในไทย และนอกประเทศ ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน ทั้งรัฐบาลและเอกชนที่ต้องร่วมจัดการศึกษา
หนังสือพิมพ์มติชน:  5 พ.ย. 57 
 
"พระเทพ"ทรงย้ำจัดการศึกษาในอนาคต
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานเนื่องในงาน "วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ครั้งที่ 26 และ วาระครบ 40 ปี บัณฑิตวิทยาลัย โดยมี ผศ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว คณาจารย์ และพระสหายร่วมชั้นระหว่างทรงศึกษา ระดับปริญญาเอก สาขาพัฒนาศึกษาศาสตร์ เฝ้ารับเสด็จ โอกาสนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงบรรยายเรื่อง"อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ" ความตอนหนึ่งว่า คนในอดีตที่จัดการศึกษาได้ดีคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ปฏิรูปการศึกษาและจัดการศึกษาเพื่อปวงชนที่ทรงให้คนไทยทุกคนมีโอกาส ทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ซึ่งโอกาสทางการศึกษา ในอนาคตต้องขยายกว้างไม่ใช่แค่คนไทยทุกคนแต่ต้องเป็นทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้งคนไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ทุกคนทั้งรัฐบาลและเอกชน
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  5 พ.ย. 57 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70] [71] [72] [73] [74] [75] [76] [77] [78] [79] [80] [81] [82] [83] [84] [85] [86] [87] [88] [89] [90] [91] [92] [93] [94] [95] [96] [97] [98] [99] [100] [101] [102] [103] [104] [105] [106] [107] [108] [109] [110] [111] [112] [113] [114] [115] [116] [117] [118] [119] [120] [121] [122] [123] [124] [125] [126] [127] [128] [129] [130] [131] [132] [133] [134] [135] [136] [137] [138] [139] [140] [141] [142] [143] [144] [145] [146] [147] [148] [149] [150] [151] [152] [153] [154] [155] [156] [157] [158] [159] [160] [161] [162] [163] [164] [165] [166] [167] [168] [169] [170] [171] [172] [173] [174] [175] [176] [177] [178] [179] [180] [181] [182] [183] [184] [185] [186] [187] [188] [189] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196] [197] [198] [199] [200] [201] [202] [203] [204] [205] [206] [207] [208] [209] [210] [211] [212] [213] [214] [215] [216] [217] [218] [219] [220] [221] [222] [223] [224] [225] [226] [227] [228] [229]  230  [231] [232] [233] [234] [235] [236] [237] [238] [239] [240] [241] [242] [243] [244] [245] [246] [247] [248] [249] [250] [251] [252] [253] [254] [255] [256] [257] [258] [259] [260] [261] [262] [263] [264] [265] [266] [267] [268] [269] [270] [271] [272] [273] [274] [275] [276] [277] [278] [279] [280] [281] [282] [283] [284] [285] [286] [287] [288] [289] [290] [291] [292] [293] [294] [295] [296] [297] [298] [299] [300] [301] [302] [303] [304] [305] [306] [307] [308] [309] [310] [311] [312] [313] [314] [315] [316] [317] [318] [319] [320] [321] [322] [323] [324] [325] [326] [327] [328] [329] [330] [331] [332] [333] [334] [335] [336] [337] [338] [339] [340] [341] [342] [343] [344] [345] [346] [347] [348] [349] [350] [351] [352] [353] [354] [355] [356] [357] [358] [359] [360] [361] [362] [363] [364] [365] [366] [367] [368] [369] [370] [371] [372] [373] [374] [375] [376] [377] [378] [379] [380] [381] [382] [383] [384] [385] [386] [387] [388] [389] [390] [391] [392] [393] [394] [395] [396] [397] [398] [399] [400] [401] [402] [403] [404] [405] [406] [407] [408] [409] [410] [411] [412] [413] [414] [415] [416] [417] [418] [419] [420] [421] [422] [423] [424] [425] [426] [427] [428] [429] [430] [431] [432] [433] [434] [435] [436] [437] [438] [439] [ Next -> ]

News Clips Online