News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 10, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การศึกษา

มศว วอนรัฐคืนงบฯ 'เพชรในตม'
รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า คณะศึกษาศาสตร์ มศว เกิดจากโรงเรียนฝึกหัดครู และเป็นสถาบันผลิตครูวิชาชีพชั้นสูงแห่งแรกของประเทศมาตั้งแต่ปี 2492 จนปัจจุบันมีอายุถึง 70 ปี ขณะนี้ทางคณะศึกษาศาสตร์ มศว ได้เตรียมครู เพื่อสอนระดับปฐมวัยถึงมัธยมศึกษา และเตรียมครู เพื่อพัฒนาไปสู่ศตวรรษที่ 21 แต่ในปีงบ ประมาณ 2563 ทาง มศว ได้ถูกตัดงบฯ โครงการเพชรในตมที่เสนอขอไปทั้งหมด ทั้งที่เป็นโครงการที่ดี และมีความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่ง มศว กำลังดูว่าจะนำงบฯ ไหนมาใช้ได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ตนอยากเรียกร้องให้รัฐบาลคืนงบฯ โครงการดังกล่าว เพื่อจะได้ผลิตครูที่มีคุณภาพต่อไป เพราะโครงการเพชรในตม ถือว่าเป็นต้นแบบกระบวนการผลิตครูคุณภาพสูงของประเทศและเป็นแบบอย่างของสถาบันอื่น ๆ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  18 ก.ย. 62 
 
อว.เร่งแบ่งกลุ่มมหา'ลัย คาดประเมินเสร็จ6เดือน
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ประชุมระดมความคิดเห็น เรื่องการปรับลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปอุดมศึกษา และการพัฒนามหาวิทยาลัยตามกลุ่มยุทธศาสตร์ ร่วมกับที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ทั้ง 3 กลุ่ม และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เพื่อปรับแก้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) และด้านคุณภาพมหาวิทยาลัย/OKRs รวมถึงเรื่องธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา โดยคณะทำงานได้รายงานความคืบหน้าจากการรับฟังความคิดเห็นในระยะ 1 เดือนกว่าๆ ให้ที่ประชุมฟัง
หนังสือพิมพ์มติชน:  18 ก.ย. 62 
 
รมว.อว.ชูสาธิตฯประสานมิตรตัวอย่าง Living Lab ด้านการศึกษาเด็กไทย
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee เล่าถึงเรื่องการเยี่มชมและมอบนโยบายให้กับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) เชื่อว่าการเป็นโรงเรียนสาธิตนั้น คือการเป็น Sandbox เพื่อทดลอง ทดสอบ ลองของใหม่ๆ เป็น Experimental platform โดยต้องกล้าที่จะล้มเหลว (Dare to fail) และทำลายตนเองก่อนที่คนอื่นจะทำลายเรา (Creative destruction) ในลักษณะของ Living lab ด้านการศึกษาไทย และ เมื่อได้ฟังบรรยายสรุปและได้พบกับเด็กๆสาธิตประสานมิตรแล้วเชื่อมั่นว่าสาธิตฯประสานมิตรเป็นหนึ่งในตัวอย่างต้นแบบที่ดีในการเป็น Living Lab ของการศึกษาไทย
โพสต์ทูเดย์:  16 ก.ย. 62 
 
ผลิตครูดูทั้งระบบ-ทำ "ผิดฝาผิดตัว" ไร้ประโยชน์
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตามที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ขอหารือกับตน เรื่องการปฏิรูปการผลิตครูนั้น ตนพร้อมจะหารือ ที่ผ่านมาตนกับ รมว.ศธ. ก็มีการพูดคุยกันเรื่องการผลิตครูมาตลอด และระหว่างนี้ตนก็กำลังเดินสายไปพูดคุย กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตครู เช่น ที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์กลุ่มมหาวิทยาลัยดั้งเดิมของรัฐ 16 สถาบัน+7สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เป็นต้น เพื่อชี้แจงนโยบายอว.พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน หรือแผนการผลิตครู รวมถึงความต้องการครูในอนาคต ซึ่งตนยังได้ขอให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ผลิตครูให้มาเป็นต้นแบบการผลิตครูให้แก่หน่วยผลิตครู โดยเฉพาะการผลิตครูของ มรภ.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  16 ก.ย. 62 
 
'สุวิทย์'เตรียมเดินสายพบ23สถาบันผลิตครู
นายสุวิทย์กล่าวอีกว่า ที่ สำคัญตนยังได้ขอให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ผลิตครูให้มาเป็นต้นแบบการผลิตครูให้แก่หน่วยผลิตครู โดยเฉพาะการผลิตครูของ มรภ. ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของการผลิต ครูด้วย เพราะตนมองว่าการผลิตครูจะต้องมองในเชิงระบบ และคุณภาพ ต้องดูว่าหน่วยงานที่ต้องการใช้ครูนั้นต้องการครูแบบไหน ครูสาขาไหนที่ ขาดแคลน เพราะบางครั้งมหา วิทยาลัยผลิตครูที่มีคุณภาพไป แต่ไปอยู่ในที่ไม่เหมาะสม ไม่ตรงกับที่เรียนมาก็ไม่มีประ โยชน์อยู่ดี ดังนั้น การผลิตครู ต้องดูทั้งระบบ ดูปริมาณการผลิต ให้ตรงกับความต้องการ และเมื่อผลิตออกมาแล้วก็ต้องให้ครูได้ปลดปล่อยศักยภาพด้วย เพราะบางครั้งการไปบรรจุผิดฝาผิดตัวก็ไม่มีประโยชน์ คงต้องคุยด้วย.
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  16 ก.ย. 62 
 
ชี้ต้องรื้อระบบผลิตครูหนุนครูเก่งได้โชว์กึ๋น
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.)กำลังเดินหน้าปฏิรูปการผลิตครู และเห็นว่าจะนัดหารือกับตน เพื่อวางแผนการผลิตครูร่วมกันนั้น ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับการติดต่อจาก รมว.ศธ. แต่หากติดต่อมาตนก็พร้อมที่จะหารือ ส่วน รมว.ศธ.ต้องการให้กระบวนการผลิตครูในสถาบันอุดมศึกษามีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อที่หน่วยงานรับครูมาใช้จะได้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการพัฒนาครูเพิ่มอีกนั้น ทั้งนี้เดิมมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูจะอยู่ในสังกัดศธ. ดังนั้นถ้าการผลิตครูได้มาตรฐานแล้ว ศธ.ก็อาจจะไม่ต้องไปอบรมครูเพิ่มเติมทุกอย่างก็จบ เพราะอยู่ในกระทรวงเดียวกัน แต่ตอนนี้หน่วยงานผลิตครูแยกออกมาอยู่ อว. เพราะต้องตอบโจทย์ด้านอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น ศธ. กับ อว. จึงต้องมาคุยกัน โดยเฉพาะเรื่องของการผลิตครูแห่งอนาคตจะต้องเป็นอย่างไร ครูต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน และตอบโจทย์โลกในศตวรรษที่ 21
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  16 ก.ย. 62 
 
ชู มศว ต้นแบบผลิตครู
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวภายหลังการมอบนโยบายแก่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร ว่า จากที่ตนได้รับฟังการดำเนินงานของมศวที่ผ่านมาพบว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสน่ห์ สามารถสร้างสมดุลระหว่างความเป็นศิลปะและความเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งเป็นต้นแบบเรื่องการค้นหาตัวเอง ทำให้มหาวิทยาลัยมีจุดเด่นเฉพาะตัวและตอบโจทย์ประเทศได้และเรื่องการศึกษาโดยตนฝากให้มศวเป็นตักศิลาต่อไป ทำหน้าที่ในการสร้างครูสร้างครูของครูสร้างครูในศตวรรษที่ 21
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  16 ก.ย. 62 
 
'สุวิทย์'ยกนิ้ว'มศว'ตักศิลาผลิตครูแห่งศตวรรษที่21
นายสุวิทย์ เมษิน ทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวภายหลังการมอบนโยบายแก่ มศว ว่า จากที่ตนได้รับฟังการดำเนินงานของ มศว ที่ผ่านมา พบว่าในภาพใหญ่มีความน่าสนใจมาก เนื่องจากมีความสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยังตอบรับ อว. ในเรื่องการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่า มศว พัฒนามาจากรากที่ลึกมากในด้านการสร้างครู ด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และต่อมาก็มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้าน สุขภาพ การแพทย์ มาควบคู่ อีกทั้งยังมีเรื่องการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสน่ห์ในการสามารถสร้างสมดุลระหว่างความเป็นศิลปะและความเป็นวิทยาศาสตร์ และ มศว มี 2 เรื่องที่สามารถหยิบยกขึ้นมาเป็นต้นแบบได้ คือ การค้นหาตัวเอง ทำให้มหาวิทยาลัยมีจุดเน้น จุดเด่นเฉพาะตัว และตอบโจทย์ประเทศได้
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  13 ก.ย. 62 
 
เปิดตัวโครงการ "Thailand InnoCreative Silk 2019"
สิงห์ คอมเพล็กซ์ (SINGHA COMPLEX) โดย บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) นำโดยโอฬาร วัยอุดมวุฒิ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและการพาณิชย์ อาคารสิงห์ คอมเพล็กซ์ ร่วมกับ กรมหม่อนไหม ดร.สมภพ จงรวยทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม, พุทธชาด ลีปายะคุณหัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาหม่อนไหมและพัฒนาลวดลายผ้า กรมหม่อนไหม และวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.ขจีพร วงศ์ปรีดี รักษาการคณบดีวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดงาน Thailand InnoCreative Silk 2019 นำเสนอแฟชั่นโชว์จากผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ไหมไทยร่วมสมัย
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  13 ก.ย. 62 
 
ทปอ.ประกาศปฏิทินสมัครทีแคสปี63
ดร.พีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ตามที่ทปอ.ได้เห็นชอบแนวปฏิบัติการรับสมัครคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือ ทีแคส ปีการศึกษา 2563 โดยกำหนดรับสมัคร 5 รอบนั้น ขณะนี้ได้มีการสรุปปฏิทินทีแคส ปี 63 อย่างเป็นทางการแล้ว
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  12 ก.ย. 62 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70] [71] [72] [73] [74] [75] [76] [77] [78] [79] [80] [81] [82] [83] [84] [85] [86] [87] [88] [89] [90] [91] [92] [93] [94] [95] [96] [97] [98] [99] [100] [101] [102] [103] [104]  105  [106] [107] [108] [109] [110] [111] [112] [113] [114] [115] [116] [117] [118] [119] [120] [121] [122] [123] [124] [125] [126] [127] [128] [129] [130] [131] [132] [133] [134] [135] [136] [137] [138] [139] [140] [141] [142] [143] [144] [145] [146] [147] [148] [149] [150] [151] [152] [153] [154] [155] [156] [157] [158] [159] [160] [161] [162] [163] [164] [165] [166] [167] [168] [169] [170] [171] [172] [173] [174] [175] [176] [177] [178] [179] [180] [181] [182] [183] [184] [185] [186] [187] [188] [189] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196] [197] [198] [199] [200] [201] [202] [203] [204] [205] [206] [207] [208] [209] [210] [211] [212] [213] [214] [215] [216] [217] [218] [219] [220] [221] [222] [223] [224] [225] [226] [227] [228] [229] [230] [231] [232] [233] [234] [235] [236] [237] [238] [239] [240] [241] [242] [243] [244] [245] [246] [247] [248] [249] [250] [251] [252] [253] [254] [255] [256] [257] [258] [259] [260] [261] [262] [263] [264] [265] [266] [267] [268] [269] [270] [271] [272] [273] [274] [275] [276] [277] [278] [279] [280] [281] [282] [283] [284] [285] [286] [287] [288] [289] [290] [291] [292] [293] [294] [295] [296] [297] [298] [299] [300] [301] [302] [303] [304] [305] [306] [307] [308] [309] [310] [311] [312] [313] [314] [315] [316] [317] [318] [319] [320] [321] [322] [323] [324] [325] [326] [327] [328] [329] [330] [331] [332] [333] [334] [335] [336] [337] [338] [339] [340] [341] [342] [343] [344] [345] [346] [347] [348] [349] [350] [351] [352] [353] [354] [355] [356] [357] [358] [359] [360] [361] [362] [363] [364] [365] [366] [367] [368] [369] [370] [371] [372] [373] [374] [375] [376] [377] [378] [379] [380] [381] [382] [383] [384] [385] [386] [387] [388] [389] [390] [391] [392] [393] [394] [395] [396] [397] [398] [399] [400] [401] [402] [403] [404] [405] [406] [407] [408] [409] [410] [411] [412] [413] [414] [415] [416] [417] [418] [419] [420] [421] [422] [423] [424] [425] [426] [427] [428] [429] [430] [431] [432] [433] [434] [435] [436] [437] [438] [439] [440] [441] [442] [443] [444] [445] [446] [447] [448] [449] [450] [451] [452] [453] [454] [ Next -> ]

News Clips Online