News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
September  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930
             
 Today is September 8, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การศึกษา

15 ปีข้างหน้า..การศึกษาโลก?
นางเอพริล โกลเด้น เจ้าหน้าที่ภาคีสัมพันธ์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สำนักงานกองทุนการศึกษาโลก กล่าวถึงทิศทางการจัดการศึกษาโลกในอีก 15 ปีข้างหน้าว่า การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกที่ผู้นำ 193 ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ร่วมกันลงมติรับที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติสมัยที่ 70 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งทิศทางใหม่ของการจัดการศึกษาคือการเน้นการศึกษาที่มีคุณภาพและเรียนรู้ตลอดชีวิต จากเดิมที่เน้นสร้างโอกาสทางการศึกษาในโรงเรียน จึงมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดโดยพยายามเข้าถึงเด็กทุกกลุ่มที่ด้อยโอกาส ปัญหาความเท่าเทียมของหญิงและชายในการเข้าถึงการศึกษา และต้องเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพโดยเชื่อมโยงกับความต้องการของตลาดแรงงานจึงต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อรวบรวมข้อมูลถึงทักษะการทำงานที่ภาคเอกชนต้องการ รวมถึงกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีปัญหาการอ่านออกเขียนได้และการขาดทักษะใหม่ๆ ที่ตลาดต้องการให้กลับเข้ามาศึกษาต่อเพื่อให้เกิดการทักษะเพื่อการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  20 ต.ค. 58 
 
วางบท'สกศ.'มันสมองใหญ่การศึกษาชาติ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมน ตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมและมอบนโยบายแก่บุคลากร สกศ. ว่า ตนมีนโยบายที่จะพัฒนา สกศ.ให้เป็นหน่วยงานที่เป็นที่พึ่งของการศึกษาชาติได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องนโยบาย งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสภาการศึกษา จะต้องมีความน่าสนใจ เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่างๆ ด้านการศึกษา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ และจะส่งผลให้การศึกษาของชาติมาจากมาตรฐานเดียวกัน
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  20 ต.ค. 58 
 
มอบโอกาสการศึกษาไทย
"เด็กทุกคนถือว่าเป็นอาสาสมัครที่มีใจ เข้ามาช่วยเรื่องการศึกษาของประเทศ เพราะเด็กเหล่านี้จบการศึกษาจาก หลากหลายคณะ ทั้งวิศวะ, วิทยาศาสตร์, บัญชี, เคมี และอื่น ๆ ใน 5 สถาบัน คือ จุฬาฯ, ม.ธรรมศาสตร์, ม.มหิดล, ม.เกษตรศาสตร์ และ มศว ซึ่งทุกคนถือเป็นครีมของประเทศ จากรุ่นที่แล้วมี 60 เปอร์เซ็นต์ที่บอกว่า จบโครงการแล้วอยากเป็นครูต่อ ส่วนปีนี้เราคัดมาได้ 62 คน จากผู้รับสมัครเกือบ 2 พันคน ซึ่งครูเหล่านี้มีความสามารถด้านวิชาการแน่นอน แต่เราต้องมาอบรมความเป็นครู ความเป็นผู้นำ เพื่อเข้าไปช่วยพัฒนาโรงเรียนที่เขาเข้าไปสอน"
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ:  19 ต.ค. 58 
 
เสี้ยวชีวิต...มนุษย์พันธุ์38ค(2) หัวใจปฏิรูปการศึกษาเกินร้อย
กว่า 10 ปี ที่ทุกรัฐบาลพยายามทุ่มเทงบประมาณเพื่อการปฏิรูปการศึกษาไทย ท่ามกลางการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตัวรัฐมนตรีศึกษามากกว่ากระทรวงอื่นๆ รัฐบาลแต่ละยุคต่างวาดหวังผลสัมฤทธิ์การศึกษาไทยจะดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีชี้วัดระดับชาติและนานาชาติ ด้วยการผุดสารพัดนโยบาย สั่งตรงจากส่วนกลางหรือกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงสู่เขตพื้นที่การศึกษา หวังให้เป็นตัวเชื่อมถึงประชาชนคนไทย แต่นโยบายสวยหรูเหล่านั้นไปไม่ถึงฝั่งฝัน ด้วยปริมาณเนื้องานที่มากหมายมหาศาล แต่บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่รองรับนโยบายกลับน้อยลงแถมไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานรัฐ กลายเป็นข้อเหวี่ยงทางการศึกษา "ป่าล้อมเมือง"
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก:  19 ต.ค. 58 
 
ทุนสร้างคน สร้างบัณฑิต
มูลนิธิมีนักเรียนทุนซึ่งสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตคุณภาพออกสู่สังคมได้เป็นผลสำเร็จแล้วทั้งหมด 13 รุ่น จากหลากหลายสถาบันชั้นนำ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ฯลฯ และได้ออกไปต่อยอดให้สังคมแล้วในหลากหลายอาชีพ อาทิ แพทย์, วิศวะ, เภสัช, อาจารย์ ฯลฯ จำนวน 309 คน รวมมอบทุนไปแล้ว 738 ทุน
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  19 ต.ค. 58 
 
ไม่พร้อมรับมือ'อาเซียน'
วรัชยภรณ์ อินทะรักษ์
ชั้นปี 2 คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะยังขาดทรัพยากรที่สำคัญ คือ ทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น ข่าวการทะเลาะวิวาท หรือในสื่อต่างประเทศที่จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่วัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอังกฤษ เด็กต่างชาติในวัย 15 ปี หาเงินเรียนด้วยตัวเอง ดูแลและรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่เด็กไทยในวัยเดียวกัน กลับกำลังเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ ผลลัพธ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเด็กไทยว่ามีคุณภาพขนาดไหน
หนังสือพิมพ์มติชน:  16 ต.ค. 58 
 
เถ้าแก่น้อยฯโดนใจนักลงทุน
ไบค์รูทส์" (BikeRoutes) แอพพลิเคชั่นบอกเส้นทางการปั่นจักรยาน ผลงานน้อง ๆ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ด้วยการพรีเซนต์ที่โดดเด่นจนได้รางวัลการนำเสนอยอดเยี่ยม น้อง ๆ ในทีมนี้บอกว่า พัฒนาแอพนี้ขึ้นจากความชอบส่วนตัว โดยอยากสร้างสังคมของคนปั่นจักรยาน ที่ทำให้ปั่นจักรยานได้อย่างสนุกและราบรื่น หากอยากไปที่ใดก็สามารถกดนำทางด้วยเส้นทางที่ถูกสร้างขึ้น โดยเพื่อนนักปั่นคนอื่น ๆ ได้ทันที พร้อมทั้งเห็นว่ารอบ ๆ มีสถานที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใดบ้าง ซึ่งรวมถึง จุดเช่า จุดจอด จักรยาน ร้านอาหาร ร้านกาแฟ จุดพัก ที่เป็นมิตรต่อจักรยาน
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  15 ต.ค. 58 
 
ประสานมิตร พรีเทสต์ เด็กเล็ก
สมาคมศิษย์เก่าสาธิต ประสานมิตร ร่วมกับ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) จัดโครงการทดสอบความพร้อมสำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็กวันสอบ : วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2558 สมัครออนไลน์ วันที่ 12-30 ตุลาคม 2558 ที่ www.satitprasarnmit.com/pretest คุณสมบัติของผู้สมัคร: ผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552-31 พฤษภาคม 2554 สถานที่สอบ: โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
M2F:  13 ต.ค. 58 
 
เปิดมุมมองการใช้ชีวิต"สโลว์ไลฟ์"สไตล์วัยจี๊ดขุมพลังอัพ"ความสุข"
มิ้น...ปรีดาภรณ์ สารบุญมา นิสิตปี 4 เอกจิตวิทยาการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยิ้มหวานก่อนบอกว่า “ต้องบอกว่าเป็นกระแสที่กำลังพูดถึงในหมู่วัยรุ่นกับ Slow Life แต่คงไม่ใช่การนั่งเสพเน็ตอัพรูปในร้านกาแฟชิคๆอย่างที่ใครๆเข้าใจ ความหมายที่แท้จริงของการใช้ชีวิตแบบนี้ คือ การใช้ชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไปแต่มีสติ ที่คนหันมาให้ความสำคัญกับชีวิตสโลว์ไลฟ์ เพราะเมืองกรุงเต็มไปด้วยผู้คนที่ใช้ชีวิตที่เร่งรีบแข่งกับเวลา ทำให้หลายคนอยากจะหลบหนีไปใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ที่ต่างจังหวัด แต่บางทีถ้าลองปรับมุมมองสักนิดแล้วให้เวลากับมุมๆนั้น อาจทำให้เรามีความสุขกับชีวิตสโลว์ไลฟ์ในแบบฉบับของคุณ อย่างมิ้นเองก็มีมุมสโลว์ไลฟ์ ด้วยการนั่งมองความสุขของผู้คนรอบตัว บางวันหยุดมิ้นก็ไปสวนสาธารณะนั่งมองผู้คนที่กำลังมีความสุข เปลี่ยนจากเช็กนิวฟีดในมือถือมาเป็นการอ่านหนังสือดีๆสักเล่มที่ช่วยให้เรามีสติอยู่กับปัจจุบัน ถ้าคุณอยากลองทำดูอันดับแรกแค่ลองปิดอินเตอร์เน็ตในมือถือเก็บใส่กระเป๋า แล้วนั่งหลับตาสักห้านาทีคุณก็ได้เข้าถึงรูปแบบการใช้ชีวิตแบบใหม่ ที่เรียกว่าสโลว์ไลฟ์”
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  12 ต.ค. 58 
 
เด็กไทยเกาะสนามศึกนาดาล-ยอโควิช
น้องเบส ด.ญ.วริศรา ลี วัย 13 ปี จากโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร เผยความรู้สึกว่า "ดีใจและตื่นเต้นมากที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ ได้มารู้ทักษะการเล่นเทนนิสที่ถูกต้องและดูวิธีการเล่นของผู้เล่นระดับโลก จะนำสิ่งที่ได้รับในวันนี้ไปฝึกฝนต่อ อนาคตอยากเป็นนักเทนนิสอาชีพให้ได้"
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  8 ต.ค. 58 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70] [71] [72] [73] [74] [75] [76] [77] [78] [79] [80] [81] [82] [83] [84] [85] [86] [87] [88] [89] [90] [91] [92] [93] [94] [95] [96] [97] [98] [99] [100] [101] [102] [103] [104] [105] [106] [107] [108] [109] [110] [111] [112] [113] [114] [115] [116] [117] [118] [119] [120] [121] [122] [123] [124] [125] [126] [127] [128] [129] [130] [131] [132] [133] [134] [135] [136] [137] [138] [139] [140] [141] [142] [143] [144] [145] [146] [147] [148] [149] [150] [151] [152] [153] [154] [155] [156] [157] [158] [159] [160] [161] [162] [163] [164] [165] [166] [167] [168] [169] [170] [171] [172] [173] [174] [175] [176] [177] [178] [179] [180] [181] [182] [183] [184] [185] [186] [187] [188] [189] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196] [197] [198] [199] [200] [201] [202] [203] [204] [205] [206]  207  [208] [209] [210] [211] [212] [213] [214] [215] [216] [217] [218] [219] [220] [221] [222] [223] [224] [225] [226] [227] [228] [229] [230] [231] [232] [233] [234] [235] [236] [237] [238] [239] [240] [241] [242] [243] [244] [245] [246] [247] [248] [249] [250] [251] [252] [253] [254] [255] [256] [257] [258] [259] [260] [261] [262] [263] [264] [265] [266] [267] [268] [269] [270] [271] [272] [273] [274] [275] [276] [277] [278] [279] [280] [281] [282] [283] [284] [285] [286] [287] [288] [289] [290] [291] [292] [293] [294] [295] [296] [297] [298] [299] [300] [301] [302] [303] [304] [305] [306] [307] [308] [309] [310] [311] [312] [313] [314] [315] [316] [317] [318] [319] [320] [321] [322] [323] [324] [325] [326] [327] [328] [329] [330] [331] [332] [333] [334] [335] [336] [337] [338] [339] [340] [341] [342] [343] [344] [345] [346] [347] [348] [349] [350] [351] [352] [353] [354] [355] [356] [357] [358] [359] [360] [361] [362] [363] [364] [365] [366] [367] [368] [369] [370] [371] [372] [373] [374] [375] [376] [377] [378] [379] [380] [381] [382] [383] [384] [385] [386] [387] [388] [389] [390] [391] [392] [393] [394] [395] [396] [397] [398] [399] [400] [401] [402] [403] [404] [405] [406] [407] [408] [409] [410] [411] [412] [413] [414] [415] [416] [417] [418] [419] [420] [421] [422] [423] [424] [425] [426] [427] [428] [429] [430] [431] [432] [433] [434] [435] [436] [437] [438] [439] [440] [441] [442] [443] [444] [445] [446] [447] [448] [449] [450] [451] [ Next -> ]

News Clips Online