News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
September  2023
Su M Tu W Th F Sa
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
             
 Today is September 29, 2023
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การศึกษา

มศว' สร้างนักเศรษฐศาสตร์
ผศ.ดร.สุรวุฒิ ปัดไธสง กรรมการร่างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าร่างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์และนโยบายฯ ถือเป็นหลักสูตรใหม่ และอยู่ภายใต้องค์กรใหม่ ที่ใช้ชื่อว่า สำนักสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เป็นส่วนงานในกำกับมหาวิทยาลัยเปิดสอนระดับปริญญาตรี ในชื่อว่า หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) และระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง โดยในระยะแรกคาดว่าจะเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2550 ก่อน จากนั้น 2-3 ปี คาดว่าปีการศึกษา 2551 หรือ 2552 จะเปิดระดับบัณฑิตศึกษาต่อไป
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  14 ก.พ. 50 
 
ใบรับรองสิทธิผู้บริหารจะต้องออกโดยคุรุสภา
การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้มีการกำหนดให้วุฒิ คอม. สาขาการบริหารอาชีวศึกษา หรือสาขาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา เป็นคุณวุฒิที่สามารถขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตผู้บริหารได้อยู่แล้ว โดยให้ไปยื่นที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาโดยตรง ส่วนการขอหนังสือรับรองสิทธิผู้บริหารของผู้ที่จบวุฒิอื่นที่ไม่ใช่วุฒิ ทางการบริหารการศึกษาก็ต้องไปขอยื่นที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเช่นกัน
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  14 ก.พ. 50 
 
วรากรณ์'ชี้ครูเป็นกลไกสำคัญสร้างคุณธรรมนำความรู้
วรากรณ์"ชี้ครูกลไกสำคัญสร้างคุณธรรมนำความรู้ ระบุวิชาชีพครูอยู่ในภาวะวิกฤต ครูร้อยละ 72.5 อยากเข้าร่วมโครงการเกษียณก่อนกำหนด แถมไม่อยากให้ลูกหลานยึดอาชีพครู หนุนดึงสภาพทางสังคมของครูคืนมา ด้านผอ.ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลเผยผลการศึกษาระบุว่ากฎหมายของไทยมีความยุติธรรมแค่ 6 % เพราะความแตกต่างกันทางสังคม ส่งผลเกิดความเหลื่อมล้ำทางกฎหมาย แนะใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์อยู่บนพื้นฐานคุณธรรมให้ความยุติธรรมอย่างเสมอภาค
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  13 ก.พ. 50 
 
ทปอ.ชี้ยาก-วัดความดีน.ร.เข้ามหาวิทยาลัย รมช.ระบุลงทรานสคริปต์ยุ่งการประเมิน
ในมหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกแห่งมีระบบรับนักศึกษาที่พิจารณาจากความดีอยู่แล้ว เช่น โครงการช้างเผือก มหาวิทยาลัยเอกชนก็เช่นกัน หากกำหนดให้เป็นระบบที่ชัดเจนก็เป็นความคิดที่ดี แต่จะให้ระบุพัฒนาการความดีลงในใบทรานสคริปต์ด้วย จะลำบากในการประเมิน อย่างไรก็ตาม จะเสนอความคิดดังกล่าวต่อ ทปอ.เพื่อปรับปรุงระบบการคัดเลือกนักศึกษาให้ความสำคัญกับการพิจารณาความดีของนักเรียนมากขึ้น
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  13 ก.พ. 50 
 
ทำคู่มือจัดหลักสูตรร่วมม."ไทย-ตปท."
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยหลังหารือกับตัวแทนสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจและร่วมแก้ปัญหาการจัดการศึกษาในประเทศไทย ภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าการจัดการศึกษาในหลักสูตร Doctor in BusinessAdministration Program ของ University of South Australia หรือ UniSA ในประเทศไทย ที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือเอแบค ไม่ได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
หนังสือพิมพ์มติชน:  9 ก.พ. 50 
 
โฮมสคูล ทางรอดหรือทางเลือก
โฮมสคูล หรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว หมายถึงการจัดการศึกษาที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง โดยพ่อแม่อาจสอนเอง หรือจัดการให้เกิดการเรียนการสอน เช่น จ้างครูสอนพิเศษมาสอนที่บ้านผสมผสานกับการสอนด้วยตัวพ่อแม่เอง หรือมีข้อตกลงในการจัดการศึกษาร่วมกันกับโรงเรียน เช่น สัปดาห์หนึ่งเรียนในโรงเรียน 3 วัน ที่เหลือเรียนกับพ่อแม่ที่บ้าน หรืออาจจะรวมกลุ่มกันหลายครอบครัวเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  9 ก.พ. 50 
 
ครู 5 ปี ต้องชัด
โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี(หลักสูตร 5 ปี) หรือรู้จักกันว่า ครู 5 ปี หรือครูพันธุ์ใหม่ เกิดขึ้นหลังจากมีการปฏิรูปการศึกษาตามนัยแห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ.2542 ที่กำหนดว่าระบบและกระบวนการผลิตพัฒนาครูจะต้องปรับเปลี่ยนให้ได้ครูที่มีศักยภาพ คุณภาพ สมกับเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงได้มีการผลิตครูระบบใหม่เกิดขึ้น ออกแบบหลักสูตรเป็น 5 ปี
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  9 ก.พ. 50 
 
สุรยุทธ์"ชี้เด็กไทยเสี่ยงหมดอนาคต เสพโลกาภิวัตน์เกิน-ขาดคุณธรรม
นายกฯแสดงความกังวลเด็กไทยเดินตามกระแสโลกาภิวัตน์จนหลงและสุ่มเสี่ยงต่ออนาคต ส่งผลให้ระบบครอบครัวล่มสลาย ผุดแผนการศึกษาปี"50 เน้นคุณธรรม จริยธรรม ติงเรียนภาษาอังกฤษไม่เสียหาย แต่อย่าให้มากเกิน

หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  9 ก.พ. 50 
 
ปรับแผนการศึกษาชาติต้องคิดนอกกรอบ
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า แผนการศึกษาแห่ง ชาติ เป็นแผนระยะเวลา 15 ปี ดังนั้นการปรับแผนจะต้องพิจารณาด้วยว่า การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาต่อเนื่องและยาวนานกว่า จะเกิดผล ดังนั้นจึงไม่ควรที่ตัดตอนการทำแผนพัฒนาการศึกษาเป็นช่วง ๆ เพราะธรรมชาติงานด้านการศึกษาจะคิดในระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่ได้ ต้องคิดอย่างต่อเนื่อง
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  8 ก.พ. 50 
 
โต้"อภิสิทธิ์"เปล่าบังคับม.ออกนอกระบบ
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่ารัฐบาลควรยุติการผลักดันมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล และให้ความชัดเจนเกี่ยวกับต้นทุนของแต่ละสาขาวิชา ว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ออกสมัยที่นายอภิสิทธิ์เป็นรองนายกรัฐมนตรี และยังเป็นประธานร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งมาตรา 36 กำหนดว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นส่วนราชการ หรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก็ได้ แต่ต้องมีอิสระ อยู่ภายใต้สภามหาวิทยาลัยของแต่ละแห่ง มหาวิทยาลัยจึงต้องตัดสินใจเองว่าจะเป็นส่วนราชการ หรือเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ไม่มีใครบังคับ และไม่ใช่นโยบายรัฐบาล หรือของตน เพราะกฎหมายแต่ละฉบับค้างมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา แต่เมื่อยุบสภา กฎหมายจึงตกไป เมื่อมาถึงรัฐบาลชุดนี้ มหาวิทยาลัยได้กดดันให้ตนยืนยันกฎหมายของแต่ละแห่งต่อไป ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริง อย่าบิดเบือน
หนังสือพิมพ์มติชน:  8 ก.พ. 50 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70] [71] [72] [73] [74] [75] [76] [77] [78] [79] [80] [81] [82] [83] [84] [85] [86] [87] [88] [89] [90] [91] [92] [93] [94] [95] [96] [97] [98] [99] [100] [101] [102] [103] [104] [105] [106] [107] [108] [109] [110] [111] [112] [113] [114] [115] [116] [117] [118] [119] [120] [121] [122] [123] [124] [125] [126] [127] [128] [129] [130] [131] [132] [133] [134] [135] [136] [137] [138] [139] [140] [141] [142] [143] [144] [145] [146] [147] [148] [149] [150] [151] [152] [153] [154] [155] [156] [157] [158] [159] [160] [161] [162] [163] [164] [165] [166] [167] [168] [169] [170] [171] [172] [173] [174] [175] [176] [177] [178] [179] [180] [181] [182] [183] [184] [185] [186] [187] [188] [189] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196] [197] [198] [199] [200] [201] [202] [203] [204] [205] [206] [207] [208] [209] [210] [211] [212] [213] [214] [215] [216] [217] [218] [219] [220] [221] [222] [223] [224] [225] [226] [227] [228] [229] [230] [231] [232] [233] [234] [235] [236] [237] [238] [239] [240] [241] [242] [243] [244] [245] [246] [247] [248] [249] [250] [251] [252] [253] [254] [255] [256] [257] [258] [259] [260] [261] [262] [263] [264] [265] [266] [267] [268] [269] [270] [271] [272] [273] [274] [275] [276] [277] [278] [279] [280] [281] [282] [283] [284] [285] [286] [287] [288] [289] [290] [291] [292] [293] [294] [295] [296] [297] [298] [299] [300] [301] [302] [303] [304] [305] [306] [307] [308] [309] [310] [311] [312] [313] [314] [315] [316] [317] [318] [319] [320] [321] [322] [323] [324] [325] [326] [327] [328] [329] [330] [331] [332] [333] [334] [335] [336] [337] [338] [339] [340] [341] [342] [343] [344] [345] [346] [347] [348] [349] [350] [351] [352] [353] [354] [355] [356] [357] [358] [359] [360] [361] [362] [363] [364] [365] [366] [367] [368] [369] [370] [371] [372] [373] [374] [375] [376] [377] [378] [379] [380]  381  [382] [383] [384] [385] [386] [387] [388] [389] [390] [391] [392] [393] [394] [395] [396] [397] [398] [399] [400] [401] [402] [403] [404] [405] [406] [407] [408] [409] [410] [411] [412] [413] [414] [415] [416] [417] [418] [419] [420] [421] [422] [423] [424] [425] [426] [427] [428] [429] [430] [431] [432] [433] [434] [435] [436] [ Next -> ]

News Clips Online