News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 18, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การศึกษา

จันทบุรีปักหมุดการศึกษาปฐมวัยดึง 13 อปท.ร่วมขับเคลื่อน
นายสามารถลอยฟ้าผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมกับท้องถิ่นจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ทั้ง 13แห่งใน 10 อำเภอ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว ในสังกัดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.)วัดพลับพลาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย 1 ใน 15 แห่งทั่วประเทศด้วยจุดเด่นที่มีผู้บริหาร อปท.ให้ความสำคัญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับตำบลให้การสนับสนุน ซึ่งนับเป็นทุนในการทำงานที่ดี ที่จะดำเนินงานขับเคลื่อนระบบและกลไกจังหวัดเพื่อเด็กปฐมวัย ที่เชื่อมโยงกันในระดับจังหวัดจันทบุรีได้สำเร็จ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเป็นรูปธรรม ภายในปี 2559 ตามนโยบายของรัฐบาล
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  28 ก.ย. 58 
 
หนังสั้นเด็กไทย เปิดมุมมองความรู้ 'ประชาคมอาเซียน'
รางวัลชนะเลิศประเภทการประกวดหนังสั้นระดับอุดมศึกษาเป็นของ นายศุภวิชญ์ บัวเกศ อายุ 20 ปี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในผลงานชื่อ "A Moment of May" นำเสนอเรื่องราวของเมย์ สาวมหาวิทยาลัยที่มาเจอเพื่อนสนิทชาวพม่าทั้งคู่ใช้เวลาร่วมกันบนโต๊ะอาหาร และมีเพื่อนชาวอาเซียนคนอื่นๆ มานั่งร่วมโต๊ะ ทั้งหมดได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องอาเซียน และวัฒนธรรมของแต่ละประเภท รวมไปถึงวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร"
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  23 ก.ย. 58 
 
10 อ ลักษณะครูคุณภาพในประชาคมอาเซียน
ดร.สมชาย เทพแสง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศ ในการร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปลายปี 2558 ที่เน้นการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค
รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย กฎบัตรอาเซียน (Realizing The ASEAN Charter) มีการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มี ประชาชน เป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงความมั่นคงของประชาชนในภูมิภาค โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์และเข้มแข็ง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคงของชาติ
ดังนั้น "ครู" จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมของสังคมไทยสู่ประชาคมอาเซียน จำเป็นต้องมีการพัฒนา คุณลักษณะของครู ให้มีคุณภาพเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ลูกศิษย์และประชาชนโดยทั่วไป
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ:  16 ก.ย. 58 
 
พีรวิชณ์ แรงปลาย พลิกคว้าแชมป์'ทรูเอแม็ทคิงส์โทรฟี่'
พีรวิชณ์ ธนพิเชษฐ์ นักคำนวณเอแม็ท แรงปลายเฉือนเอาชนะ พิสิษฐ์ คันธวัฒน์ ในรอบชิงสุดมันด้วยแต้มต่าง 44 คะแนน คว้าแชมป์เอแม็ท รุ่นโอเพ่น รับรางวัลโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เงินรางวัล 30,000 บาท และโทรศัพท์ทรู 4G ในงาน "ทรู เอแม็ท คิงส์โทรฟี่ ครั้งที่ 10" เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่เดอะมอลล์ โคราช ท่ามกลางนักคำนวณสมองกลตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม จนถึงประชาชนทั่วไปกว่าห้าพันคนทั่วประเทศ ขณะที่นักคณิตศาสตร์ทั้งจากแคนาดา ออสเตรเลีย อเมริกา ต่างพ่ายเซียนเอแม็ทไทยไปเรียบวุธ แต่ได้ประสบการณ์มั่นใจปีหน้ากลับมาจะท้าชิงให้ได้ ส่วนรุ่นนักเรียน ถ้วยรวม รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร กรุงเทพฯ คว้าแชมป์รุ่นประถม
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  14 ก.ย. 58 
 
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร ท่านคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็ยืนยันว่าการเรียนในห้องเรียนนั้นได้ผลแค่ 10-20% เท่านั้นเอง แต่ถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมที่ตนเลือกและสนใจ เด็กแต่ละคนซึ่งแตกต่างกันจะเกิดการเรียนรู้ 80-90% เพราะการเรียนรู้ต้องได้จากการลงมือและปฏิบัติจริง
หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์:  11 ก.ย. 58 
 
ชี้ลดเวลาเรียนดีแนะครูบูรณาการความรู้-กิจกรรม
ผศ.ไตรรัตน์ พิพัฒโภคผล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) (ฝ่ายประถม) เปิดเผยว่า นโยบายของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มความรู้ เพื่อให้นักเรียนมีความสุขโดยให้เรียนวิชาการในช่วงเช้าจนถึง 14.00 น. และหลังจากนั้นให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมที่นักเรียนสนใจว่า เห็นด้วยกับนโยบายนี้ ที่ผ่านมาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ได้มีมากอย่างทุกวันนี้ แต่ละโรงเรียนไม่ต้องอัดแน่นเนื้อหาการสอนให้นักเรียนมากนัก แต่เมื่อหลักสูตรของศธ.เปลี่ยนแปลง เน้นในหลากหลายหัวข้อในวิชาการมาก จนทำ ให้โรงเรียนส่วนใหญ่ต้องสอนไปตาม หลักสูตรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ ศธ.ตั้งไว้ เด็กๆ จึงเรียนแต่วิชาการ จนขาดความสุข
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก:  9 ก.ย. 58 
 
ขานรับนโยบายสั่งลดชั่วโมงเรียนชี้ร.ร.ต้องปรับหลักสูตรที่ศธ.กำหนด
ผศ.ไตรรัตน์ พิพัฒโภคผล รองผอ.ฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) (ฝ่ายประถม) เปิดเผยว่า ตนเห็นด้วยกับนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มความรู้ เพื่อให้นักเรียนมีความสุขโดยให้เรียนวิชาการช่วงเช้าจนถึง 14.00 น. และหลังจากนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรมที่นักเรียนสนใจ ที่ผ่านมาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ได้มีมากอย่างทุก วันนี้ แต่ละร.ร.ไม่ต้องอัดแน่นเนื้อหาการสอนให้นักเรียนมาก แต่เมื่อหลักสูตรของศธ.เปลี่ยนแปลง เน้นในหลากหลายหัวข้อในวิชาการมาก จนทำให้ร.ร.ส่วนใหญ่ต้องสอนไปตามหลักสูตร
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  9 ก.ย. 58 
 
มศว หนุนนโยบายลดเวลาเรียน
รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ (มศว) กล่าวถึงนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มความรู้ ของพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ตนพร้อมให้การสนับสนุนนโยบายนี้ ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียน สาธิต มศว ประสานมิตร ทั้ง ฝ่ายประถม และ ฝ่ายมัธยมก็จัดการเรียนเรียนการสอนในลักษณะนี้อยู่แล้ว เพราะเชื่อว่าการเรียนในชั้นเรียนฟัง พูด อ่าน เขียน เด็กจะรับการเรียนรู้เพียง 10-20 % เท่านั้น
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  7 ก.ย. 58 
 
'สาธิตมศว'แนะครูต้องมีทีมเวิร์ก หลอมรวมวิชาการ-ทักษะวัยเยาว์
ผศ.ไตรรัตน์ พิพัฒโภคผล รองผอ.ฝ่ายกิจการนักเรียน รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) (ฝ่ายประถม)เปิดเผยถึงนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มความรู้เพื่อให้นักเรียนมีความสุข โดยให้เรียนวิชาการในช่วงเช้าจนถึง 14.00 น. และหลังจากนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรมตามความสนใจว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่ครูจะต้องบูรณาการทุกรายวิชา ทำงานกันเป็นทีม และมีความละเอียด เพื่อหลอมรวมวิชาการใน 5 รายวิชา อย่างภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม และภาษาต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้เรียน ในช่วงเช้าจนถึง 14.00 น.และหลังจากนั้น ครูในรายวิชาพื้นฐานอาชีพเทคโนโลยี พละและศิลปะ จะต้องสามารถหลอมรวมความสนุก ความสุขในการเรียนวิชาช่วงบ่าย เพื่อให้สมองซีกขวาได้ทำงานและต้องสามารถหลอมรวมกับวิชาการในช่วงเช้าได้ เพื่อให้เด็กเกิดความรอบรู้ในภาพกว้างและลึก แม้จะเป็นการเล่นสนุก แต่ต้องเกิดการพัฒนาทางสติปัญญาแบบอัตโนมัติและยังเกิดเป็นความทรงจำที่ดีๆ ในวัยเยาว์ด้วย
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  7 ก.ย. 58 
 
'มศว'ติงสื่อออกเสียงภาษาไทย
ผศ.ไตรรัตน์ พิพัฒโภคผล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน อาจารย์สอนภาษาไทย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) (ฝ่ายประถม) เปิดเผยว่า เด็กไทยยุคใหม่พูดภาษาไทยไม่ชัด โดยเฉพาะการออกเสียง ร.เรือ ล.ลิง หรือคำควบกล้ำ การที่ออกเสียงผิดจะทำให้สื่อความหมายไม่ชัดเจนและสื่อผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้ถ้าไม่ฝึกฝนก็จะทำให้ติดเป็นนิสัย พูดที่ไหนก็ผิด สื่อความไม่รู้เรื่อง สื่อไม่ถูกกาลเทศะ ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่จะทำให้เด็กคนนั้นเติบโตไปอย่างผู้ที่ใช้ภาษาผิดๆ และหากต้องก้าวขึ้นสู่การทำงานและต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ๆ สูงขึ้น
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  7 ก.ย. 58 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70] [71] [72] [73] [74] [75] [76] [77] [78] [79] [80] [81] [82] [83] [84] [85] [86] [87] [88] [89] [90] [91] [92] [93] [94] [95] [96] [97] [98] [99] [100] [101] [102] [103] [104] [105] [106] [107] [108] [109] [110] [111] [112] [113] [114] [115] [116] [117] [118] [119] [120] [121] [122] [123] [124] [125] [126] [127] [128] [129] [130] [131] [132] [133] [134] [135] [136] [137] [138] [139] [140] [141] [142] [143] [144] [145] [146] [147] [148] [149] [150] [151] [152] [153] [154] [155] [156] [157] [158] [159] [160] [161] [162] [163] [164] [165] [166] [167] [168] [169] [170] [171] [172] [173] [174] [175] [176] [177] [178] [179] [180] [181] [182] [183] [184] [185] [186] [187] [188] [189] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196] [197] [198] [199] [200] [201] [202] [203] [204] [205] [206] [207] [208] [209] [210] [211]  212  [213] [214] [215] [216] [217] [218] [219] [220] [221] [222] [223] [224] [225] [226] [227] [228] [229] [230] [231] [232] [233] [234] [235] [236] [237] [238] [239] [240] [241] [242] [243] [244] [245] [246] [247] [248] [249] [250] [251] [252] [253] [254] [255] [256] [257] [258] [259] [260] [261] [262] [263] [264] [265] [266] [267] [268] [269] [270] [271] [272] [273] [274] [275] [276] [277] [278] [279] [280] [281] [282] [283] [284] [285] [286] [287] [288] [289] [290] [291] [292] [293] [294] [295] [296] [297] [298] [299] [300] [301] [302] [303] [304] [305] [306] [307] [308] [309] [310] [311] [312] [313] [314] [315] [316] [317] [318] [319] [320] [321] [322] [323] [324] [325] [326] [327] [328] [329] [330] [331] [332] [333] [334] [335] [336] [337] [338] [339] [340] [341] [342] [343] [344] [345] [346] [347] [348] [349] [350] [351] [352] [353] [354] [355] [356] [357] [358] [359] [360] [361] [362] [363] [364] [365] [366] [367] [368] [369] [370] [371] [372] [373] [374] [375] [376] [377] [378] [379] [380] [381] [382] [383] [384] [385] [386] [387] [388] [389] [390] [391] [392] [393] [394] [395] [396] [397] [398] [399] [400] [401] [402] [403] [404] [405] [406] [407] [408] [409] [410] [411] [412] [413] [414] [415] [416] [417] [418] [419] [420] [421] [422] [423] [424] [425] [426] [427] [428] [429] [430] [431] [432] [433] [434] [435] [436] [437] [438] [439] [440] [441] [442] [443] [444] [445] [446] [447] [448] [449] [450] [451] [452] [453] [454] [455] [ Next -> ]

News Clips Online