News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 18, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การศึกษา

'ทรู' ผนึก 20 มหา'ลัย ยกระดับสู่ Smart University
กลุ่มทรูจึงนำอัจฉริยภาพเทคโนโลยี 5G สร้างระบบนิเวศดิจิทัลของการศึกษาในมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับสู่ Smart Education Smart University ด้วยแนวคิด True5G world of Smart Education มุ่งพัฒนา 3 ด้านหลัก ได้แก่ Smart Learning, Smart Campus และ Innovation and R&D โดยร่วมกับ 20 มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ ในโครงการ True5G World of Smart Education with Temi Robot Bootcamp
หนังสือพิมพ์มติชน:  30 พ.ย. 63 
 
ทปอ.แบ่ง'แอดมิสชั่นส์2'9กลุ่ม
นายพีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้จัดการระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส เปิดเผยว่า ตามที่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ปรับเปลี่ยนการสมัครทีแคส ปีการศึกษา 2564 โดยรวมรอบการสมัครในรอบ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบ 4 แอดมิสชั่นส์ ให้เป็นรอบเดียวคือแอดมิสชั่นส์ ซึ่งในการสมัครรอบนี้ จะมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบแอดมิสชั่นส์ 1 หรือรับตรงร่วมกันเดิม และรูปแบบแอด มิสชั่นส์ 2 โดยผู้สมัครเลือกอันดับรวมกันได้ถึง 10 อันดับ ประมวลผลการคัดเลือก และประกาศผล 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดให้นักเรียนลงทะเบียนสมัครสอบวิชาความถนัดทั่วไป หรือ GAT และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT ระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม
หนังสือพิมพ์มติชน:  26 พ.ย. 63 
 
'สุชัชวีร์'ชูการศึกษายุค'5จี' เน้นคุณภาพ ดึง'กสทช.'สร้าง'ทุนมนุษย์'
*ทิศทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคต
มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวและเปลี่ยนค่อนข้างมาก แม้จะไม่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เข้ามา ทำให้ทุกประเทศในโลกปั่นป่วน การศึกษาไทยก็อยู่ในขั้นวิกฤตอยู่แล้ว อย่างที่ทราบว่าทุกวันนี้ จำนวนเด็กลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เห็นได้จากจำนวนผู้สมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยด้วยระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 จนถึงปี 2563 เด็กน้อยลงทุกปี กระทั่งปี 2564 ก็คิดว่าจะน้อยลงอีก ขณะที่อัตราการเกิดของเด็กลดลง อย่างปีที่ผ่านมามีเด็กเกิดใหม่ไม่เกิน 500,000 คน ฉะนั้นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงไม่ใช่เรื่องปริมาณ หรือการผลิตกำลังแรงงานเพื่อป้อนคนในระบบเท่านั้น แต่ต้องเน้นคุณภาพ เป็นทางรอดเดียวของประเทศไทย
หนังสือพิมพ์มติชน:  21 พ.ย. 63 
 
ข้อสรุปเรียบร้อยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
นายพีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้จัดการระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ออกมาย้ำว่า ทปอ.ยืนยันจะใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบทีแคส รอบที่ 4 แอดมิสชั่นส์ โดยจะใช้โอเน็ต ร้อยละ 30
หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์:  13 พ.ย. 63 
 
ลดช่องว่างการศึกษา สานฝันเด็กพิการ
น้องแอล-น.ส.ธนัญชกร สันติพรธดา พิการทางการเห็น (ตาบอดสนิท) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา โดยใช้ความสามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระบบกลาง หรือแอดมิสชั่น ซึ่งเป็นการสอบแข่งขันกับเด็กไม่พิการด้วย และในงานเด็กพิการเรียนไหนดีครั้งนี้ น้องแอลเป็นหนึ่งในรุ่นพี่ที่เข้ามาขับเคลื่อนงานผ่านกิจกรรมต่างๆ เพราะมุ่งหวังอยากให้รุ่นน้องคนพิการได้รับความรู้เรื่องการสอบเข้าและการเรียนต่อในระดับชั้นอุดมศึกษา เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับคนพิการ
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  12 พ.ย. 63 
 
แห่งเดียวในไทย มหกรรมแนะแนว เด็กพิการเรียนไหนดี 'ปั้นฝันเป็นตัว'
ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 8) สสส. กล่าวว่า สสส. มีบทบาทเติมเต็มให้เด็กพิการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ประคับประคองเด็กกลุ่มนี้ให้เรียนจบ มีตัวช่วยเครื่องช่วยเรียนสำหรับเด็กพิการทางสายตา และพิการทางการได้ยิน การนำ AI เข้ามาใช้เป็นสื่อเสียงด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เด็กพิการเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ เด็กกลุ่มนี้ต้องแข่งขันกับเด็กทั่วไปที่มีความพร้อมกว่า ต้องฝ่าฟันอุปสรรคกว่าจะเรียนจบระดับมัธยมศึกษา ปีนี้จัดมหกรรมแนะแนวการศึกษาเพื่ออนาคตคนพิการเป็นปีที่ 3 แล้ว (ปีแรกจัดที่ สสส. ปีที่ 2 จัดที่ TRUE บางนา) ขณะนี้มีหลายบริษัทให้ความสนใจที่จะรับเด็กพิการเข้าไปทำงานด้วย เพราะเด็กกลุ่มนี้มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเด็กปกติ มีหลายร้อยบริษัทที่พร้อมรับเด็กพิการเข้าทำงานกว่า 7,000 อัตราแล้ว
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  9 พ.ย. 63 
 
ทปอ.ยันใช้โอเน็ตเข้ามหา'ลัยปี 64
นายพีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้จัดการระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ตามที่นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดศึกษาธิการ เตรียมหารือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เพื่อวางแนวทางการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ตามนโยบายของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งอนาคตอาจใช้วิธีสุ่มสอบนักเรียนชั้นป.6, ม.3 และ ม.6 ไม่ได้สอบทุกคนเหมือนที่ผ่านมา ส่วนชั้น ม.6 ที่ต้องใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบเข้าเรียนต่อ ทปอ.สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าศึกษาต่อได้เองนั้น
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  6 พ.ย. 63 
 
ทปอ.ยันใช้โอเน็ตเข้ามหา'ลัยปี'64
นายพีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้จัดการระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมหารือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เพื่อวางแนวทางการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ตามนโยบายของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ซึ่งอนาคตอาจใช้วิธีสุ่มสอบ นักเรียนชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 ไม่ได้สอบทุกคนเหมือนที่ผ่านมา ส่วนนักเรียนชั้น ม.6 ที่ต้องใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบในการเข้าเรียนต่อ ทปอ.สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าศึกษาต่อได้เองนั้น ทปอ.ยืนยันจะใช้คะแนนโอเน็ตในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยด้วยระบบทีแคส ในรอบที่ 4 แอดมิสชั่นส์ ซึ่งจะใช้โอเน็ตเป็นองค์ประกอบร้อยละ 30 ต่อไป เพราะหากปรับองค์ประกอบ จะต้องแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้า 3 ปี เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมพร้อม และในปีการศึกษา 2566 ทปอ.จะยกเลิกทีแคส รอบที่ 4 เหลือรอบคัดเลือกด้วยแฟ้มสะสมงาน รอบโควต้า รอบรับตรงร่วมกัน และรอบรับตรงอิสระ ซึ่งไม่ได้ใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก
หนังสือพิมพ์มติชน:  4 พ.ย. 63 
 
วิชารักชาติ
นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวว่า ในการประชุมการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่มี นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ร่วมกับนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ประชุมได้หารือเรื่องการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นการปรับหลักสูตรใน 8 กลุ่มสาระวิชาหลักจากหลักสูตรเดิม มาอัพเดตใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่นวิชาสังคมศึกษา ด้านเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475-2500 เป็นต้นไป มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญบางช่วงบางตอนขาดหายไป อย่างเรื่องแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ทั้งยังไม่มีการใส่เนื้อหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเหล่านี้เอาไว้ในบทเรียน จึงทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้การพัฒนาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในแต่ละยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  3 พ.ย. 63 
 
ทักษะแห่งอนาคต
เออาร์ไอพี ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) จัดสัมมนา "ทักษะแห่งอนาคต" นำพาองค์กรอยู่รอดรับคนใหม่ ปรับคนเก่า ให้ตรงกับมาตรฐานทักษะแห่งอนาคต เพื่อพาองค์กรไทยอยู่รอด ในยุค New Normal ในวันที่ 6 พ.ย. เวลา 10.30 - 12.00 น. ที่หอดนตรีและศิลปะการแสดงอโศกมนตรี ชั้น 4 อาคารนวัตกรรมมศว (ประสานมิตร) โดยมี รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ผู้แทน รมว.การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "พัฒนาไทยให้นำหน้า ต้องพัฒนาคนสู่ศตวรรษที่ 21" พร้อมด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคลมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะสมรรถนะ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในโลกอนาคตที่ภาคธุรกิจต้องรู้ เข้าร่วมงานฟรีลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ http://reg.arip.co.th/competency โทร.0-2642-3400 ต่อ 2105.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  30 ต.ค. 63 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70] [71] [72] [73] [74] [75] [76] [77] [78]  79  [80] [81] [82] [83] [84] [85] [86] [87] [88] [89] [90] [91] [92] [93] [94] [95] [96] [97] [98] [99] [100] [101] [102] [103] [104] [105] [106] [107] [108] [109] [110] [111] [112] [113] [114] [115] [116] [117] [118] [119] [120] [121] [122] [123] [124] [125] [126] [127] [128] [129] [130] [131] [132] [133] [134] [135] [136] [137] [138] [139] [140] [141] [142] [143] [144] [145] [146] [147] [148] [149] [150] [151] [152] [153] [154] [155] [156] [157] [158] [159] [160] [161] [162] [163] [164] [165] [166] [167] [168] [169] [170] [171] [172] [173] [174] [175] [176] [177] [178] [179] [180] [181] [182] [183] [184] [185] [186] [187] [188] [189] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196] [197] [198] [199] [200] [201] [202] [203] [204] [205] [206] [207] [208] [209] [210] [211] [212] [213] [214] [215] [216] [217] [218] [219] [220] [221] [222] [223] [224] [225] [226] [227] [228] [229] [230] [231] [232] [233] [234] [235] [236] [237] [238] [239] [240] [241] [242] [243] [244] [245] [246] [247] [248] [249] [250] [251] [252] [253] [254] [255] [256] [257] [258] [259] [260] [261] [262] [263] [264] [265] [266] [267] [268] [269] [270] [271] [272] [273] [274] [275] [276] [277] [278] [279] [280] [281] [282] [283] [284] [285] [286] [287] [288] [289] [290] [291] [292] [293] [294] [295] [296] [297] [298] [299] [300] [301] [302] [303] [304] [305] [306] [307] [308] [309] [310] [311] [312] [313] [314] [315] [316] [317] [318] [319] [320] [321] [322] [323] [324] [325] [326] [327] [328] [329] [330] [331] [332] [333] [334] [335] [336] [337] [338] [339] [340] [341] [342] [343] [344] [345] [346] [347] [348] [349] [350] [351] [352] [353] [354] [355] [356] [357] [358] [359] [360] [361] [362] [363] [364] [365] [366] [367] [368] [369] [370] [371] [372] [373] [374] [375] [376] [377] [378] [379] [380] [381] [382] [383] [384] [385] [386] [387] [388] [389] [390] [391] [392] [393] [394] [395] [396] [397] [398] [399] [400] [401] [402] [403] [404] [405] [406] [407] [408] [409] [410] [411] [412] [413] [414] [415] [416] [417] [418] [419] [420] [421] [422] [423] [424] [425] [426] [427] [428] [429] [430] [431] [432] [433] [434] [435] [436] [437] [438] [439] [440] [441] [442] [443] [444] [445] [446] [447] [448] [449] [450] [451] [452] [453] [454] [455] [ Next -> ]

News Clips Online