โอเน็ต ม.3 แบบดิจิทัล นำร่อง จ.ฉะเชิงเทรา
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมสนามสอบโอเน็ต ม.3 ที่สนามสอบ ร.ร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน โดยมีนายโชติวิทย์ ธรรมสุจิตร ผอ.ร.ร.สาธิตฯให้การต้อนรับ โดยคุณหญิงกัลยากล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมสนามสอบว่า ปีการศึกษา 2564 มีนักเรียน ม.3 มีสิทธิสอบโอเน็ต จำนวน 450,081 คน |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 15 ก.พ. 65 |
|
|
|
"จัดการศึกษาชาติ" สู่การเรียนรู้แบบใหม่ในโลก
มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 11 ม.ค.2565 เห็นชอบอนุมัติจัดตั้ง "กองทุนพัฒนาการอุดมศึกษา" ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านวิชาการและการพัฒนาคนเพื่อนำ "ไทย" ให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วให้ได้ภายในสิบปีข้างหน้า |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 15 ก.พ. 65 |
|
|
|
สทศ.นำร่องสอบโอเน็ตระบบดิจิทัล
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมสนามสอบโอเน็ต ม.3 ที่สนามสอบ ร.ร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน โดยมี นายโชติวิทย์ ธรรมสุจิตร ผอ.ร.ร.สาธิตฯ ให้การต้อนรับ โดยคุณหญิงกัลยากล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมสนามสอบว่าปีการศึกษา 2564 มีนักเรียน ม.3 มีสิทธิสอบโอเน็ต จำนวน 450,081 คน ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 60,000 คน แสดงว่านักเรียนให้ความสำคัญและอยากทราบว่าความสามารถของตนเองในแต่ละรายวิชาอยู่ในระดับใด ส่วนโรงเรียนสามารถนำผลสอบไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนได้ |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 14 ก.พ. 65 |
|
|
|
'เสมา1'เร่งตั้งบอร์ดสมศ.ชุดใหม่
น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการเปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้รับแจ้งจากคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.กพร.) ให้ดำเนินการจัดทำการสรรหาประธานและคณะกรรมการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หลังจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่างมากว่า 3 ปีแล้ว โดยรับทราบว่าการทำงานด้านประเมินคุณภาพสถานศึกษาจะเป็นคณะกรรมการสมศ.ชุดรักษาการ ซึ่งเข้าใจว่าอาจทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร ดังนั้นตนได้มอบหมายดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องการสรรหาคณะกรรมการสมศ.ชุดใหม่แล้ว ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเรื่องการประเมินคุณภาพสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์: 14 ก.พ. 65 |
|
|
|
วัลลพ สงวนนาม เลขาธิการ กศน
ครม.มีมติเห็นชอบ แต่งตั้ง วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตามการเสนอจัดทัพซี 10 ของ ตามข่าวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวน 7 ราย
แทนที่ สุรศักดิ์ อินศรีไกร เลขาธิการ กศน. ที่โยกนั่งผู้ตรวจราชการ ศธ.
เกิด 27 พฤษภาคม 2506 ปริญญาตรี กศ.บ. (การประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ปริญญาโท ศษ.ม. บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
หนังสือพิมพ์มติชน: 11 ก.พ. 65 |
|
|
|
มศว-พว.จับมือพลิกโฉมการจัดการเรียนการสอน
ธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) โดย ผศ.ดร.รุ่งทิวา แย้มรุ่ง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว กับสถาบัน พว. โดย ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารสถาบัน พว. เพื่อส่งเสริมการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นให้ผู้เรียนต้องมีศักยภาพในทุกมิติ ผ่านการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 11 ก.พ. 65 |
|
|
|
‘มศว-พว.’ ร่วมมือกันขับเคลื่อน Active Learning ผลิตครูยุคใหม่
ดร.รุ่งทิวา แย้มรุ่ง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวว่า มศว เป็นฝ่ายผลิตก็เหมือนเป็นภาคทฤษฎี ดังนั้นการได้ร่วมมือกับ พว.ก็เป็นเหมือนการนำภาคทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งตนเชื่อมั่นและคาดหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะประสบความสำเร็จไปด้วยดี และตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติได้ |
หนังสือพิมพ์มติชน: 11 ก.พ. 65 |
|
|
|
เรียน 'ปริญญาเอก'... อีก 1 รูปแบบ!?!
บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการรายวิชาในการจัดการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
1) พิจารณาสรรหาวิทยากรที่เหมาะสมเข้ามาสอนในรายวิชาที่ตนดูแล
2) จัดให้นักศึกษาปริญญาเอกเข้ารับการอบรมในรายวิชาต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น เช่น การอบรมผู้บริหาร สพฐ. ให้มีคุณวุฒิเชี่ยวชาญ หรือชำนาญการพิเศษ
3) จัดให้นักศึกษาเข้ารับการอบรมในรายวิชาต่างๆ กับมหาวิทยาลัยอื่นที่เป็นพันธมิตรร่วม เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นต้น |
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ: 8 ก.พ. 65 |
|
|
|
'แซนด์บ็อกซ์อุดมศึกษา'เครื่องมือผลิตคนคุณภาพ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 1 ก.พ.2565 เห็นชอบ เรื่อง การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) หรือแซนด์บ็อกซ์การอุดมศึกษา พร้อมทั้งมีมติมอบอำนาจให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาฯ และมีคำสั่งให้สถาบันอุดมศึกษา หรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาฯ แทนคณะรัฐมนตรี |
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ: 7 ก.พ. 65 |
|
|
|
อว.เปิด 22 หลักสูตรเพื่อการมีงานทำ
ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวในการเป็นประธานลงนามในบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนการดำเนินการหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non degree) ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต ระหว่าง อว.และสถาบันอุดมศึกษา 17 แห่ง ว่า นี่คือการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ เพื่อตอบสนองการพัฒนากำลังคนและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่จะนำไปสู่การสร้างอาชีพ ดังนั้น บุคลากรที่สถาบันอุดมศึกษา สร้างขึ้นมาต้องตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน นอกจากนี้ ระบบการผลิตคนของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคปัจจุบัน |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 4 ก.พ. 65 |
|
|
|