News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
April  2023
Su M Tu W Th F Sa
      1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30
             
 Today is April 2, 2023
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

เปิดวิสัยทัศน์ “วรวุฒิ กุลแก้ว”กับภารกิจขับเคลื่อน มูลนิธิทันตนวัตกรรม
นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ซึ่งมูลนิธิทันตนวัตกรรมเป็นมูลนิธีที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมจากฝีมือนักวิจัยไทย เพื่อแก้ปัญหาโรคทางด้านทันตกรรมแบบครบวงจร ทั้งการวิจัยและพัฒนาตามมาตรฐานสากล
ฐานเศรษฐกิจ:  31 ส.ค. 65 
 
'ทนฟังไม่ได้'ใช่โรค? 'เกลียดเสียง' แปลกแท้..แต่'มีจริง!!'
เว็บไซต์ของงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวช ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับ "โรคเกลียดเสียง" นี้เอาไว้น่าสนใจเช่นกัน กล่าวคือ...จากสถิติแล้วนั้น ผู้ป่วยโรคเกลียดเสียงมักจะเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 9-13 ปี และส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้หญิง ซึ่งภาวะอาการนั้นจะค่อย ๆ เป็นไปทีละน้อย จะเกิดขึ้นไม่เร็ว ดังนั้นจึงทำให้จับสังเกตอาการไม่ค่อยได้ในระยะแรก ๆ ทว่าเมื่ออาการเกิดถี่ขึ้น หรือเป็นบ่อยขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงจะทราบว่าคน คนนั้นป่วยเป็นโรคเกลียดเสียง หรือมี "ภาวะมีโซโฟเนีย" เข้าให้แล้ว!!.
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  25 ส.ค. 65 
 
โรคระบาด: วิธีจัดการในอดีต
ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสูง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของหนังสือ "จากปีศาจ สู่เชื้อโรค" ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทยผู้ปลุกปั้นวิชาประวัติศาสตร์การแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ว่า วิธีการจัดการโรคระบาดในสมัยโบราณง่ายมาก คือ 1.ย้ายเมืองหนี 2.ทำพิธีปลอบขวัญ ก็จบ แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เราต้องขยายความบริบททางสังคมความเชื่อ ว่าทำไมต้องใช้วิธีการนี้
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  17 ส.ค. 65 
 
มอบรางวัล“โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ ด้านการแพทย์และสุขภาพรายใหม่”
ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กลาง) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลในงาน “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการด้านการแพทย์และสุขภาพรายใหม่” กิจกรรม : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์และสุขภาพ การ Pitching เพื่อการต่อยอดธุรกิจ โดยมี ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ที่ 3 จากซ้าย) และผศ.ดร.วีระนันท์ คำนึงวุฒิ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มศว
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  11 ส.ค. 65 
 
ครบรอบ 120 ปี
ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน, ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล, เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดี และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมมอบเงินสมทบทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ในโอกาสครบรอบ 120 ปี กรมชลประทาน และจัดงาน "120 ปี กรมชลประทาน 6 รัชกาล งานของแผ่นดิน" โดยจัดแสดงนิทรรศการผลงานชลประทาน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ "120 ปี กรมชลประทาน" ภายใต้ชื่อ "มหัศจรรย์แห่งสายน้ำเพื่อชีวิต" มีผู้เข้าชมและร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

หนังสือพิมพ์มติชน:  27 ก.ค. 65 
 
สัตวแพทย์จุฬาฯ เลียนแบบสารในเปลือกมังคุด
สรรพคุณต้านการอักเสบและทำลายเชื้อโรคของสารแซนโทน รศ.สพญ.ดร.สุทธาสินี ริเริ่มโครงการวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อพัฒนาสังเคราะห์สารแซนโทนให้อยู่ในรูปของ "ไฮดรอกซี่แซนโทน"(Hydroxy Xanthones ; HDX) เพื่อมีฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลสุขภาพของสัตว์และคน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  17 มิ.ย. 65 
 
กรมพระศรีสวางควัฒนฯ เสด็จทรงติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินงานโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ รักษาโรคมะเร็ง แห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน
ในปีที่ผ่านมาโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ ในพระดำริ ได้เผยแพร่องค์ความรู้จากการปฏิบัติงาน และเป็นแหล่งฝึกอบรมการออกแบบสถานที่ผลิตยา เครื่องจักร ระบบสนับสนุนกระบวนการผลิต วิธีการตรวจรับรอง รวมไปถึงการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการผลิตยา ให้แก่ นิสิตนักศึกษา เภสัชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เช่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  11 เม.ย. 65 
 
สจล. ชูนวัตกรรมเอไอ ตรวจมะเร็งปากมดลูก
การทดลองโดยใช้ภาพถ่ายจากภาพฐานข้อมูลมะเร็งปากมดลูกขององค์การอนามัยโลก (WHO)
ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยค่าความถูกต้อง (Accuracy) อยู่ที่ร้อยละ 85 และค่าความไว (Sensitivity) อยู่ที่ร้อยละ 80 ในอนาคตอันใกล้จะเตรียมนำ AI ตรวจมะเร็งปากมดลูกอัตโนมัติ มาศึกษาความเป็นไปได้ และนำมาศึกษาวิจัยในผู้ป่วยต่อไปในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และโรงพยาบาลอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรในด้านการวิจัย เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโรงพยาบาลสิรินธร
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  22 มี.ค. 65 
 
แพทย์นิติเวชแจงศพ'แตงโม'ยังต้องรอตรวจอีกถึง19ชิ้น!
รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มศว กรณีการผ่าชันสูตรศพนางเอกสาว แตงโม-นิดา พัชรวีระพงษ์ รอบ 2 จะมีผลทางคดีหรือไม่ ในรายการเป็นเรื่องใหญ่ ทางช่อง JKN 18
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  17 มี.ค. 65 
 
เมื่อนิติเวชศาสตร์ช่วยไขความจริง
มหาวิทยาลัยที่มีสอนสาขาเฉพาะทาง "นิติเวชศาสตร์" ได้แก่
• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
• มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชานิติเวชศาสตร์
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชวิทยา
• มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
• มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  16 มี.ค. 65 
 

[ <- Prev ] [1] [2]  3  [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [ Next -> ]

News Clips Online