News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
April  2023
Su M Tu W Th F Sa
      1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30
             
 Today is April 2, 2023
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

แพทย์มศวเตือน อ้วนเสี่ยง'กรน' คำรามดังคู่รักร้าง
ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยถึงโรคนอนกรนว่าพบบ่อยในคนไทย เพศชาย ร้อยละ 40 เพศ หญิงร้อยละ 20 นับว่าเป็นความผิดปกติขณะหลับอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการหายใจติดขัดช่องทางเดินหายใจแคบลงกว่าปกติ ลมหายใจเข้า-ออกแรงกระแทกทางเดินหายใจจนเกิดเสียงดังผิดปกติขึ้น ในรายที่เป็นมากอาจมีโรคหยุดหายใจขณะหลับตามมา ซึ่งมีงานวิจัยเกี่ยวข้องกับโรคหยุดหายใจหรือหายใจผิดปกติขณะหลับ เผยแพร่ออกมาอย่างกว้างขวางในระยะสามสิบปีนี้ ข้อสังเกตประการหนึ่งคือกลุ่มคนอ้วนทั้งชายและหญิงมักมีอาการนอนกรนมากกว่าคนธรรมดาถึง 3 เท่า
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  16 พ.ค. 57 
 
อ้วนเสี่ยงนอนกรนตัวการปัญหาหย่าร้าง
"นอนกรน" ปัญหาสำคัญของหลายคน ซึ่ง ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ (มศว) เผยถึงโรคนอนกรนว่า พบได้บ่อยในคนไทยผู้ชายราวร้อยละ 40 ผู้หญิงราวร้อยละ 20 นับว่าเป็นความผิดปกติขณะหลับอย่างหนึ่ง ขณะหลับนั้นมีการหายใจติดขัด ช่องทางเดินหายใจแคบลงกว่าปกติ ลมหายใจเข้าออกแรงกระแทกทางเดินหายใจ จนเกิดเสียงดังผิดปกติขึ้น ในรายที่เป็นมากมีโรคหยุดหายใจขณะหลับตามมา
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  16 พ.ค. 57 
 
แถลงข่าวเรื่อง"เตือนภัยบุหรี่อิเล็กโทรนิกส์ เสี่ยงมะเร็ง"
ผศ.ดร.ศรีรัช ลอยสมุทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมด้วยภก.คฑา บัณฑิตานุกูล เครือข่ายเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่และผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง"เตือนภัยบุหรี่อิเล็กโทรนิกส์ เสี่ยงมะเร็ง" จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย:  7 พ.ค. 57 
 
ทันโลกทันเหตุการณ์กับแพทยสภา: โรคนอนกรน (ตอนจบ)
ผู้ที่มีอาการนอนกรนอยู่เป็นประจำเกิดการหายใจติดขัด อยู่เป็นเวลานานเป็นเดือนเป็นปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด การหลับ ไม่ต่อเนื่อง อาการง่วงนอนมากผิดปกติตอนกลางวัน โรคหยุดหายใจขณะหลับ การดูแลรักษา
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  6 พ.ค. 57 
 
เก็บยาสะสม...เป็นภัยต่อสุขภาพแบบไม่รู้ตัว
ภ.ญ.สุชีรา ลีโทชวลิต งานเภสัชกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยว่า การสะสมยาก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน ประการแรกต้องดูก่อนว่าสาเหตุที่ยาเหลือเพราะอะไร ถ้าเกิดจากการลืมกินยา ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าการกินยาและการดูแลตัวเองเพื่อรักษาโรคของเรานั้นไม่มีประสิทธิภาพ ผลเสียจากการลืมกินยาหรือกินยาไม่ครบนั้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  6 พ.ค. 57 
 
เตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงมะเร็ง โทษอื้อแต่แพงกว่า
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า การเสพบุหรี่ไฟฟ้ามิได้ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้จริงตามที่โฆษณาโดยพบสารก่อมะเร็งหลาย ๆ ชนิด เช่น ไดเอธิลีนไกล คอล ตะกั่วแมงกานีส สังกะสี ปรอท สารหนูแคดเมียมในปริมาณที่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้หากใช้อย่างต่อเนื่อง
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  30 เม.ย. 57 
 
ทันโลกทันเหตุการณ์กับแพทยสภา: โรคนอนกรน
โรคนอนกรนพบได้บ่อยในคนไทยผู้ชายราวร้อยละ 40 ผู้หญิง ราวร้อยละ 20 นับว่าเป็นความผิดปกติขณะหลับอย่างหนึ่ง เกิดใน ขณะหลับนั้นมีการหายใจติดขัด ช่องทางเดินหายใจแคบลงกว่าปกติ ลมหายใจเข้า-ออกแรงกระแทกทางเดินหายใจจนเกิดเสียงดังผิดปกติขึ้น ในรายที่เป็นมากมีโรคหยุดหายใจขณะหลับตามมา งานวิจัยค้นคว้าตำราเกี่ยวข้องกับโรคหยุดหายใจหรือหายใจผิดปกติขณะหลับมีเผยแพร่ ออกมาอย่างกว้างขวางมากมายในระยะสามสิบปีนี้ สังเกตกันได้เสมอว่าคนอ้วนมีอาการนี้ได้มากกว่าคนธรรมดาถึง 3 เท่า แน่นอนว่าอาการนี้ ไม่ได้ผูกขาดอยู่กับคนอ้วน ในผู้ชาย หรือในผู้ใหญ่เท่านั้น
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  28 เม.ย. 57 
 
'โคโรน่าไวรัส 2012' โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน
น.พ.พลากร ศรีนิธิวัฒน์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เผยว่า ไวรัส โคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 หรือ เมิร์สคอฟ (Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV) เป็นไวรัสสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่ม โคโรน่าไวรัส เรียกว่า novel coronavirus : nCoV เพิ่งค้นพบในปี พ.ศ.2555 แม้ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทย แต่พบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 13 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในซาอุดีอาระเบีย โดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวเกิดมาจากสัตว์ เช่น อูฐ, ค้างคาว
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  28 เม.ย. 57 
 
นักประดิษฐ์ไทย
ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แถลงข่าว "นักประดิษฐ์ไทยความรางวัลดีเด่นระดับโลกจากกรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส" ในปีนี้มีผลงานวิจัยคว้า รางวัลต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 57 ผลงาน โดย รศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คว้ารางวัล เหรียญทองเกียรติยศ ที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ บางเขน
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  22 เม.ย. 57 
 
ผลิตภันฑ์กันแดดช่วยปกป้องผิว
ในแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV), แสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า, รังสีความร้อนที่เรียกว่าอินฟราเรด รังสี UV ซึ่งมีอยู่มากมายในแสงแดดมีผลเสียต่อผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแสบแดง ผิวไหม้แดด ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น กระตุ้นการเห่อของโรคผิวหนังบางชนิด อาทิ โรคลูปัส เกิดภาวะผิวหนังแก่ก่อนวัย และมะเร็งผิวหนังได้ รังสี UVB ที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า มีอยู่ในบรรยากาศ 5% เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดผิวไหม้แดดและสีคล้ำขึ้น ที่สำคัญยังก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนรังสี UVA นั้น มีอยู่ในบรรยากาศมากที่สุดประมาณ 90-95% เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดผิวหนังแก่ก่อนวัย ผิวสีคล้ำขึ้นและเป็นตัวเสริมการก่อให้เกิดมะเร็งของผิวหนังด้วย
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก:  10 เม.ย. 57 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23]  24  [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [ Next -> ]

News Clips Online