News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
April  2023
Su M Tu W Th F Sa
      1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30
             
 Today is April 1, 2023
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

แอร์เป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุโรคหืดปวดบวมวัณโรค
นพ.ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล แพทย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) องครักษ์ เปิดเผยว่า ไม่มีใครสนใจว่าเครื่องปรับอากาศนั้นแม้จะทำให้คลายร้อนลงได้ แต่แฝงไปด้วยเชื้อโรคและมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อสุขภาพแทบทั้งสิ้น
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  2 พ.ค. 50 
 
สารพัดเชื้อโรคอยู่ในเครื่องปรับอากาศ ต้นตอโรคภูมิแพ้-หอบหืด-ปอดบวม
นพ.ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล แพทย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) องครักษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยร้อนขึ้น หลายๆ บ้านหันมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศ แต่ไม่มีใครสนใจว่าเครื่องปรับอากาศนั้นแม้จะทำให้คลายร้อนลงได้ แต่ยังแฝงไปด้วยเชื้อโรคและมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา เช่น โรคภูมิแพ้ ผื่นผิวหนังอักเสบ หืดหอบ ปอดบวม ผู้ใช้เครื่องปรับอากาศควรจะสังเกตว่า เวลาที่เปิดเครื่องปรับอากาศถ้ามีกลิ่นอับชื้นที่มากับความเย็น กลิ่นอับชื้นเหล่านี้มักมาจากเชื้อโรคที่ออกมาจากช่องระบายความเย็น และแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ ความชื้นจะเป็นแหล่งสะสมเพาะพันธุ์อย่างดีของเชื้อโรค
หนังสือพิมพ์มติชน:  30 เม.ย. 50 
 
ระวัง! เครื่องปรับอากาศสะสมเชื้อโรค ต้นตอภูมิแพ้ งูสวัด หัดเยอรมัน
แพทย์เผยเชื้อโรคนานาชนิดอยู่ในเครื่องปรับอากาศ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ส่งผลเป็นต้นตอโรคภูมิแพ้ หืดหอบ ปอดบวม โรคสุกใส งูสวัด หัดเยอรมัน สัญญาณเตือนมีกลิ่นชื้นอับมากับความเย็น พบมีอาการคันจมูก คันตา จามบ่อย แน่นจมูก ตื่นนอนจะระคายคอ หากอาการป่วยรุนแรงมาก เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แนะหมั่นทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  29 เม.ย. 50 
 
จากวาทกรรม ถึงรูปธรรมการแพทย์ ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์
สถาบันโยคะวิชาการและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ดำเนินโครงการบริหารกายด้วยโยคะและการรำไท้เก็กเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
หนังสือพิมพ์มติชน:  28 เม.ย. 50 
 
สธ. ติวเข้มแพทย์จบใหม่ ก่อนลงทำงาน รพ.
ห้องประชุมแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็คคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการปฐมนิเทศและให้โอวาทแพทย์และทันตแพทย์ที่จบใหม่ และปฏิบัติงานชดใช้ทุนในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  2 เม.ย. 50 
 
"อนามัยโลก"รับมือ หวัดนกลามเอเชีย
องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) แถลงที่กรุงมะนิลา นครหลวงของฟิลิปปินส์ ว่า กัมพูชา สิงคโปร์ และองค์การอนามัยโลกจะซ้อมเพื่อทดสอบความสามารถของทวีปเอเชียในการรับมือการระบาดของไข้หวัดนกในสัปดาห์หน้า
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  29 มี.ค. 50 
 
แพทย์แนะกิน"ปลาทู" ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
ศ.น.พ.ปิติ พลังวชิรา ผอ.ศูนย์โรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผู้เชี่ยวชาญด้านด้านการแพทย์ชะลอวัย (Antiaging Medicine) กล่าวว่าในปัจจุบันนี้ผู้คนต้องทำงานหนัก เกิดภาวะเครียด บางคนกินอาหารแต่ละมื้อไม่ครบ 5 หมู่ ประกอบกับมลพิษที่อยู่ในอากาศ เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ มากขึ้นกว่าในอดีต ดังนั้นวิตามินและอาหารเสริมจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิต โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  23 มี.ค. 50 
 
แนะกิน"ปลาทู"ป้องกันโรคหัวใจ
ศ.นพ.ปิติ พลังวชิรา ผู้อำนวยการศูนย์โรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า "โอเมก้า 3" ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา ซึ่งเป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ในเรื่องลดอัตราการตาย จากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ และยังลดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดความหนืดของเลือด ลดการอักเสบ ทำให้ความข้นในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  14 มี.ค. 50 
 
โรคจิตจากเอฟีดรีน
โรคจิตเป็นคำที่ใช้กับโรคทางจิตเวชหลายโรคที่มีอาการหลงผิด (เช่น หวาดระแวงว่าคนอื่นจะมาทำร้าย เชื่อว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์) และประสาทหลอน (เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน) เป็นอาการหลัก

โรคจิตที่มีการกล่าวถึงบ่อย คือ โรคจิตเภท เพราะโรคนี้นอกจากจะรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในสังคมแล้วยังมีแนวโน้มที่จะป่วยแบบเรื้อรังด้วย
หนังสือพิมพ์มติชน:  13 มี.ค. 50 
 
มหัศจรรย์ จาก ปลาทู
ศ.น.พ.ปิติ พลังวชิรา ผอ.ศูนย์โรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ผู้เชี่ยวชาญด้าน Antiaging Medicine กล่าวว่า "โอเมก้า 3" เป็นกรดไขมันประเภทไม่อิ่มตัว ซึ่งจากการวิจัย พบว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายที่มีอยู่ในปลานั้น จะมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์สร้างสมดุล ปรับระดับความข้นของเลือดให้อยู่ในภาวะปกติเป็นการช่วยลดอัตรา การเกิดโรคหัวใจ และยังช่วยบำรุงตับอ่อนเลี่ยงความเสี่ยงที่จะ ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ:  12 มี.ค. 50 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37]  38  [39] [40] [41] [42] [43] [44] [ Next -> ]

News Clips Online