News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
September  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930
             
 Today is September 8, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

'ปลดล็อก' สร้างแรงบันดาลใจ
ความเครียดสะสมที่ขาดวิธีการจัดการล้วนส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ นำไปสู่ความวิตกกังวล อารมณ์ไม่มั่นคง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน การเรียน และสัมพันธภาพต่อครอบครัวและบุคคลแวดล้อม...

การทำงาน การเรียน ความเครียด ความกดดัน การทำกิจวัตรเดิมซ้ำ ๆ ขาดแรงจูงใจยังส่งผลอาจทำให้หมดไฟ หมดพลังสร้างสรรค์ เริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ทั้งนี้ชวนเติมความสุข ค้นแรงบันดาลใจ ปลุกไฟในการทำงาน การเรียน ปลดล็อกพร้อมลุยกับสิ่งที่จะเป็นอุปสรรค ชวนสำรวจ สังเกตภาวะหมดไฟ โดย แพทย์หญิงอชิรญา สุวรรณหงส์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวช ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ความรู้ในประเด็นนี้ว่า ภาวะหมดไฟ มักพบในคนวัยทำงานที่พบกับ ความเครียดสะสมเรื้อรัง จากการงานมายาวนานและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  16 ม.ค. 66 
 
รับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์
นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค รองผู้อำนวยการฝ่าย สำนักงานศูนย์ฯ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับครอบครัวนำกลับไปใช้ดูแลรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน รวมมูลค่า 1,200,000 บาท จาก ภาสินี ปรีชาธนาพล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ เพื่อช่วยลดอัตราการครองเตียงและลดภาระโรงพยาบาลในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุกชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  6 ม.ค. 66 
 
รับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์
นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค รองผู้อำนวยการฝ่าย สำนักงานศูนย์ฯ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับครอบครัวนำกลับไปใช้ดูแลรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน รวมมูลค่า 1,200,000 บาท จากนางสาวภาสินี ปรีชาธนาพล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ เพื่อช่วยลดอัตราการครองเตียง และลดภาระโรงพยาบาลในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ณ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  6 ม.ค. 66 
 
เปิดข้อเท็จจริง "อะมีบากินสมอง" หลังพบชายเกาหลีใต้ติดเชื้อจนเสียชีวิต
"หมอหมู" เปิดข้อเท็จจริง "อะมีบากินสมอง" หรือ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา หลังพบชายเกาหลีใต้ติดเชื้อจนเสียชีวิต
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก:  3 ม.ค. 66 
 
ภาวะเลือดออกในสมอง" ในเด็กภาวะอันตรายถึงชีวิต เช็คอาการเบื้องต้น
รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชวิทยาศาสตร์ มศว โพสต์ข้อมูล "ภาวะเลือดออกในมอง" ว่า ในประเทศไทย มีรายงานวิจัยพบภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกได้ประมาณร้อยละ 2-3 ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ ภาวะนี้พบได้ในทุกอายุ โดยพบว่าในเด็ก (อายุมากกว่า 2 ปี) มีโอกาสเกิดได้มากกว่าในผู้ใหญ่ เนื่องจากเยื่อดูราแยกออกจากผิวด้านในของกะโหลกได้ง่ายกว่า
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก:  2 ธ.ค. 65 
 
วช. เปิดนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ระบบทางเดินหายใจ
ผศ.ดร.ดิเรก เสือสีนาค อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับแพทย์หญิงสิรภัทร ตุลาธรรมกิจ อาจารย์จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้ระบบทางเดินหายใจนี้ โดยกลไกทักษะการฟังเสียงการหายใจด้วยตนเองนั้น จะประกอบไปด้วย 2 ฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชันการเรียนรู้ทดสอบการฟังเสียงการหายใจด้วยแอปพลิเคชันและฟังก์ชันการช่วยระบุตำแหน่งการวางเครื่องฟังการหายใจ และระบบจำแนกเสียงการหายใจด้วย Machine learning
ฐานเศรษฐกิจ:  1 ธ.ค. 65 
 
KKP รวมพลังจิตอาสาใน ‘โครงการอาสา สร้างโอกาส’ ทำหมอนหลอด ส่งต่อผู้ป่วยติดเตียง
นางสาวพัทนัย เหลืองตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักสื่อสารองค์กรและการตลาด (ที่ 6 จากขวา) เป็นผู้แทนมอบหมอนหลอด จำนวน 100 ใบ ให้แก่ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมี ผศ.นพ.สุรสิทธิ์ ตั้งสกุลวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ (ที่ 5 จากซ้าย) เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มิติหุ้น:  30 พ.ย. 65 
 
กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า สถานการณ์การติดเชื้อโรคโควิด-19 ในกลุ่มเด็ก พบอัตราป่วยในเด็กเล็ก มากกว่าเด็กโต 1.5 เท่า และป่วยเสียชีวิต มากกว่าเด็กโต 3 เท่า ประกอบกับ พบเด็กที่มีภาวะ Mis-C หรือ Long COVID ที่มีอาการรุนแรง ในผู้ป่วยเด็กเป็นสัดส่วน ที่สูงขึ้น จึงควรเร่งรัดการฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายเด็ก ทางกรมควบคุมโรค จึงร่วมมือกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวง พม. และประสานขอความร่วมมือจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เขตสุขภาพ 4 และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อเร่งดำเนินการฉีด วัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 6 เดือน ถึงต่ำกว่า 5 ปีในสถานสงเคราะห์เด็กพญาไท และมีแผนการเร่งรัดการฉีดให้เด็กเล็กในสถานสงเคราะห์ทั่วประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และลดความรุนแรงในกลุ่มเป้าหมายเด็กเล็ก
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  10 พ.ย. 65 
 
มฟล.จับมือคณะทันตแพทย์ 17 มหา’ลัย ประกาศปฏิญญาว่าด้วยการดูแลสุภาพจิต น.ศ.ทันตะ
ผศ.(พิเศษ) ทพ.ไพศาล กังวลกิจ คณบดีสำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เปิดเผยว่า สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มฟล.จัดพิธีลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการดูแลสุภาพจิตในคณะทันตแพทยศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ 17 แห่งจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือพิมพ์มติชน:  9 พ.ย. 65 
 
วิโนน่า ผนึก มศว ลงนาม MOU ใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า "ความร่วมมือครั้งนี้ บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด ในฐานะพันธมิตรจากภาคเอกชน ได้เข้ามาร่วมมือกับ มศว ในการลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิ ผลงานเชื้อ จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 โดย มศว มีนโยบายการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  7 พ.ย. 65 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3]  4  [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online