News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
September  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930
             
 Today is September 15, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

สัตวแพทย์จุฬาฯ เลียนแบบสารในเปลือกมังคุด
สรรพคุณต้านการอักเสบและทำลายเชื้อโรคของสารแซนโทน รศ.สพญ.ดร.สุทธาสินี ริเริ่มโครงการวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อพัฒนาสังเคราะห์สารแซนโทนให้อยู่ในรูปของ "ไฮดรอกซี่แซนโทน"(Hydroxy Xanthones ; HDX) เพื่อมีฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลสุขภาพของสัตว์และคน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  17 มิ.ย. 65 
 
กรมพระศรีสวางควัฒนฯ เสด็จทรงติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินงานโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ รักษาโรคมะเร็ง แห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน
ในปีที่ผ่านมาโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ ในพระดำริ ได้เผยแพร่องค์ความรู้จากการปฏิบัติงาน และเป็นแหล่งฝึกอบรมการออกแบบสถานที่ผลิตยา เครื่องจักร ระบบสนับสนุนกระบวนการผลิต วิธีการตรวจรับรอง รวมไปถึงการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการผลิตยา ให้แก่ นิสิตนักศึกษา เภสัชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เช่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  11 เม.ย. 65 
 
สจล. ชูนวัตกรรมเอไอ ตรวจมะเร็งปากมดลูก
การทดลองโดยใช้ภาพถ่ายจากภาพฐานข้อมูลมะเร็งปากมดลูกขององค์การอนามัยโลก (WHO)
ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยค่าความถูกต้อง (Accuracy) อยู่ที่ร้อยละ 85 และค่าความไว (Sensitivity) อยู่ที่ร้อยละ 80 ในอนาคตอันใกล้จะเตรียมนำ AI ตรวจมะเร็งปากมดลูกอัตโนมัติ มาศึกษาความเป็นไปได้ และนำมาศึกษาวิจัยในผู้ป่วยต่อไปในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และโรงพยาบาลอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรในด้านการวิจัย เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโรงพยาบาลสิรินธร
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  22 มี.ค. 65 
 
แพทย์นิติเวชแจงศพ'แตงโม'ยังต้องรอตรวจอีกถึง19ชิ้น!
รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มศว กรณีการผ่าชันสูตรศพนางเอกสาว แตงโม-นิดา พัชรวีระพงษ์ รอบ 2 จะมีผลทางคดีหรือไม่ ในรายการเป็นเรื่องใหญ่ ทางช่อง JKN 18
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  17 มี.ค. 65 
 
เมื่อนิติเวชศาสตร์ช่วยไขความจริง
มหาวิทยาลัยที่มีสอนสาขาเฉพาะทาง "นิติเวชศาสตร์" ได้แก่
• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
• มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชานิติเวชศาสตร์
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชวิทยา
• มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
• มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชานิติเวชศาสตร์
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  16 มี.ค. 65 
 
วช.ทำชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบ หาเชื้อเลปโตสไปร่า ก่อโรคฉี่หนู
คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นำโดย ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ และคณะ ประกอบด้วย ดร.สุพัตรา อารีกิจ รศ.ดร.อุไรวรรณ โฆษิตานนท์ รศ.นพ. วรพจน์ ตันติศิริวัฒน์ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล รศ.ดร.พิชาภัค ศรียาภัย ดร.เกศปุญยวีศ์ บุญรอดดิษฐ์ ดร.พรพรรณ จรัสสิงห์ รศ.ดร.ทายาท ศรียาภัย และ รศ.ดร.กุลชาติ จังภัทรพงศา ด้วยความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไบโอเซนเซอร์ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน ร่วมกับเครือข่ายวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หนังสือพิมพ์มติชน:  1 ก.พ. 65 
 
วิจัยสำเร็จชุดตรวจหาเชื้อเล็ปโตสไปรา
ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไบโอเซ็นเซอร์แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินโครงการการพัฒนาชุดทดสอบดีเอ็นเอแบบแถบเพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อเล็ปโตสไปรา ที่ก่อโรคฉี่หนูเนื่องจากโรคเล็ปโตสไปโรซิส ก่อให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งในคนที่ติดเชื้อบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มเล็ปโตสไปรา สายพันธุ์ Leptospira interrogans ซึ่งพบได้ทั่วไป ในธรรมชาติ การวินิจฉัยเชื้อจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นรังโรค
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  31 ม.ค. 65 
 
‘ถาวร’ร่วมพิธีเอ็มโอยู คณะแพทย์ มศว บบริษัทเอกชน
นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้รับเชิญไปร่วมงานพิธีลงนามบันทึก(MOU)ข้อตกลงความร่วมมือการวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(คณะแพทยศาสตร์) กับบริษัท SaNotize และการประชุมวิชาการในหัวข้อ”งานวิจัยสู่นวัตกรรมใช้ Nitric Oxide ในการจัดการไวรัสโควิด-19 โดยมี ดร.กิลลี่ รีเกฟ(Dr.Gilly Regev) ประธานบริหาร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ SaNOtize and Development Corp มาบรรยายให้ความรู้จากการระบาดของเชื้อ ไวรัส โควิด-19
หนังสือพิมพ์มติชน:  28 ธ.ค. 64 
 
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ บริษัท SaNOtize ขอเชิญประชุมวิชาการ และพิธีลงนามความร่วมมือกันวิจัยในประเทศไทยในหัวข้อ “นวัตกรรมการใช้ Nitric Oxide ในการจัดการไวรัสโควิด-19”
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เร่งประสานความร่วมมือในการร่วมทำงานวิจัยและพัฒนาแนวทางการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยสาร "ไนตริกออกไซด์" ลงนามทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับทางบริษัท SaNOtize Research and Development Corp. ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำ ซึ่งเป็นผู้ศึกษาวิจัยจากห้องปฏิบัติการถึงการศึกษาวิจัยในมนุษย์ (Clinical Control Trials) ทีมนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีนี้ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคติดเชื้อผิวหนัง ทำการวิจัยการกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลการวิจัยเชิงประจักษ์ในการจัดการลดปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกายมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  28 ธ.ค. 64 
 
สเปรย์พ่นจมูกผ่านการทดสอบเชิงคลินิกที่แคนาดา อังกฤษ
ผศ.พญ.จรินรัตน์ กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นกับสเปรย์นี้มาก ทั้งดร.กิลลี่ ดร.คริสมาช่วยโลกไว้ สารไนตริกออกไซด์จากสเปรย์สามารถกำจัดไวรัสได้จริงๆ จากการค้นคว้าวิจัยที่แพทย์ได้เคยศึกษา พบว่าสารไนตริกออกไซด์สามารถกำจัดไวรัสโควิด-19ได้ภายใน 72 ชั่วโมง และมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนการเกิดเชื้อเพิ่มไวรัสได้จริง แม้นแต่หญิงตั้งครรภ์ก็ใช้ได้ ไม่มีอันตรายใดๆ
หนังสือพิมพ์มติชน:  31 ส.ค. 64 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5]  6  [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online