News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
April  2023
Su M Tu W Th F Sa
      1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30
             
 Today is April 2, 2023
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

วช. เปิดนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ระบบทางเดินหายใจ
ผศ.ดร.ดิเรก เสือสีนาค อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับแพทย์หญิงสิรภัทร ตุลาธรรมกิจ อาจารย์จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้ระบบทางเดินหายใจนี้ โดยกลไกทักษะการฟังเสียงการหายใจด้วยตนเองนั้น จะประกอบไปด้วย 2 ฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชันการเรียนรู้ทดสอบการฟังเสียงการหายใจด้วยแอปพลิเคชันและฟังก์ชันการช่วยระบุตำแหน่งการวางเครื่องฟังการหายใจ และระบบจำแนกเสียงการหายใจด้วย Machine learning
ฐานเศรษฐกิจ:  1 ธ.ค. 65 
 
KKP รวมพลังจิตอาสาใน ‘โครงการอาสา สร้างโอกาส’ ทำหมอนหลอด ส่งต่อผู้ป่วยติดเตียง
นางสาวพัทนัย เหลืองตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักสื่อสารองค์กรและการตลาด (ที่ 6 จากขวา) เป็นผู้แทนมอบหมอนหลอด จำนวน 100 ใบ ให้แก่ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมี ผศ.นพ.สุรสิทธิ์ ตั้งสกุลวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ (ที่ 5 จากซ้าย) เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มิติหุ้น:  30 พ.ย. 65 
 
กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า สถานการณ์การติดเชื้อโรคโควิด-19 ในกลุ่มเด็ก พบอัตราป่วยในเด็กเล็ก มากกว่าเด็กโต 1.5 เท่า และป่วยเสียชีวิต มากกว่าเด็กโต 3 เท่า ประกอบกับ พบเด็กที่มีภาวะ Mis-C หรือ Long COVID ที่มีอาการรุนแรง ในผู้ป่วยเด็กเป็นสัดส่วน ที่สูงขึ้น จึงควรเร่งรัดการฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายเด็ก ทางกรมควบคุมโรค จึงร่วมมือกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวง พม. และประสานขอความร่วมมือจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เขตสุขภาพ 4 และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพื่อเร่งดำเนินการฉีด วัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 6 เดือน ถึงต่ำกว่า 5 ปีในสถานสงเคราะห์เด็กพญาไท และมีแผนการเร่งรัดการฉีดให้เด็กเล็กในสถานสงเคราะห์ทั่วประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และลดความรุนแรงในกลุ่มเป้าหมายเด็กเล็ก
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  10 พ.ย. 65 
 
มฟล.จับมือคณะทันตแพทย์ 17 มหา’ลัย ประกาศปฏิญญาว่าด้วยการดูแลสุภาพจิต น.ศ.ทันตะ
ผศ.(พิเศษ) ทพ.ไพศาล กังวลกิจ คณบดีสำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เปิดเผยว่า สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มฟล.จัดพิธีลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการดูแลสุภาพจิตในคณะทันตแพทยศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ 17 แห่งจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือพิมพ์มติชน:  9 พ.ย. 65 
 
วิโนน่า ผนึก มศว ลงนาม MOU ใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า "ความร่วมมือครั้งนี้ บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด ในฐานะพันธมิตรจากภาคเอกชน ได้เข้ามาร่วมมือกับ มศว ในการลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิ ผลงานเชื้อ จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 โดย มศว มีนโยบายการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  7 พ.ย. 65 
 
'มศว'มอบจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยเอกชนต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะเจ้าของผลงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกกล่าวว่า "เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 เป็นจุลิน ทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย ที่มีการพิสูจน์คุณสมบัติแล้วว่าเป็นโพรไบโอติกที่ดี และได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่ได้มาตรฐานเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่ามีคุณสมบัติจำเพาะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แม้จะพบว่ามีคุณสมบัติเด่นในการลดไขมันและคอเลสเตอรอล เป็นสายพันธุ์ที่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยนั้นสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียง เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก ไม่ใช่ยาหรือสารเคมี หากแต่เป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายของคนเราหากบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อเติมสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพองค์รวม
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  4 พ.ย. 65 
 
4 นาทีแห่งความตาย ต้นเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอน
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี” อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า การขาดอากาศหายในเหตุชุลมุน มีสาเหตุมาจากการอยู่ในพื้นที่แออัด ทำให้มีการกดทับ เช่น พื้นที่เป็นซอยแคบขนาบข้างด้วยตึกและกำแพง เมื่อเกิดการแออัดมากๆ ทำให้เกิดการกดทับบริเวณทรวงอก ทำให้หน้าอกขยายออกไม่ได้ สิ่งนี้ทำให้ระบบการหายใจไม่เป็นปกติ หลังจากนั้นจะเกิดอาการหมดสติ และเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  1 พ.ย. 65 
 
โรคภูมิแพ้กับมลพิษ PM2.5 และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมลพิษ PM2.5
ผลกระทบของมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกคาดว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะเกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในอีก 28 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2593) และปัญหามลพิษทางอากาศของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานชัดเจนแสดงถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ทำให้กลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  20 ก.ย. 65 
 
ฝึกเพิ่มพลังสมอง'ความจำ' 'สตรอง'ชะลอความเสื่อมถอย
การฝึกเพิ่มพลังสมองให้สตองช่วยการจดจำที่แม่นยำ มีเรื่องน่ารู้และมีวิธีการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอสมอง เสื่อม โดย พญ.อชิรญา สุวรรณหงส์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวช ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒให้ความรู้ในประเด็นนี้ว่า สมอง มีความสำคัญสามารถจะฝึกฝนพัฒนาได้ สมองมีหน้าที่หลายอย่าง โดยเรื่องของความจำเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ดังที่กล่าวมีผลต่อการใช้ชีวิต ประจำวัน การทำงานและการเรียนซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัยความจำและการจดจำ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  6 ก.ย. 65 
 
นักเรียนทุนอานันทมหิดล สาขาทันตแพทยศาสตร์ ต่อยอดความรู้
รศ.ทพญ.ดร.อรุณวรรณ หลำอุบล ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หนึ่งในผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกทันตแพทย์ศาสตร์ ให้ไปศึกษาต่อที่ The University of Iowa สหรัฐอเมริกา ในสาขาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และทำวิจัยในระดับปริญญาเอก โดยที่มุ่งเน้นศึกษาเรื่องของกลไกการเกิดโรคมะเร็งช่องปากกล่าวว่า ทุนที่พระองค์ท่านให้ก่อเกิดประโยชน์กับคนมากกว่าหนึ่งคน แล้วก็ได้ให้กับประชาชนของพระองค์ท่านในวงกว้าง ซึ่งในฐานะที่ตนเองเป็นอาจารย์ก็ถ่ายทอดความรู้ให้กับนิสิตทันตแพทย์ที่เราสอนในหลายๆ มหาวิทยาลัย และในฐานะทันตแพทย์ก็ได้นำความรู้ที่ได้มาดูแลรักษาผู้ป่วยด้วย
หนังสือพิมพ์โลกวันนี้:  1 ก.ย. 65 
 

[ <- Prev ] [1]  2  [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [ Next -> ]

News Clips Online