News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 10, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

'พักสายตา'ถนอมดวงตา ถูกหลักชะลอความเสื่อมถอย
นายแพทย์ธนิต วงษ์วิบูลย์สิน อาจารย์สาขาวิชาจักษุวิทยา ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ความรู้ แนะนำ การดูแลสุขภาพตา การพักสายตา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับท่านั่งที่ถูกหลัก ที่สัมพันธ์ต่อสายตาว่า ยุคที่ต้องเวิร์กฟรอมโฮม การเรียนออนไลน์ อาจพบปัญหา ตาแห้ง ตาล้า โดยเมื่อมีอาการตาแห้งจะทำให้มีความรู้สึกเคืองตา การมองเห็นไม่ค่อยชัดและเมื่อต้องใช้สายตาจะทำให้เกิดอาการตาล้าได้ง่ายขึ้น
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  25 ส.ค. 64 
 
มนุษธรรมไม่มีพรมแดน
นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น และรางวัลอื่นๆ อีกหลายรางวัล เป็นชาวพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เรียนจบคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นรุ่นแรกเมื่อปี 2534 ความตั้งใจเดิมคือจะขอเลือกเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลอุ้มผาง เป็นเวลา 1 ปี แต่แล้วความขาดแคลนยากไร้ของประชาชนที่พบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน กลายเป็นแรงดึงดูดที่ทำให้หมอ วรวิทย์ปักใจอยู่ที่นั่นจนกว่าจะเกษียณอายุ
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  24 ส.ค. 64 
 
'ปฐมพยาบาล'เบื้องต้น รู้หลักถูกวิธีลดการบาดเจ็บซ้ำ
แพทย์หญิงชนิกานต์ วงศ์ประเสริฐสุข หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อีกเรื่องใกล้ตัวน่ารู้ ที่ไม่ควรมองข้ามว่า โดยทั่วไปเมื่อเกิดการบาดเจ็บ การปฐมพยาบาลเป็นสิ่งที่เราทำได้เบื้องต้นซึ่งสามารถช่วยลดความรุนแรง ความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บของผู้ที่เราปฐมพยาบาลได้ก่อนไปถึงโรงพยาบาล หรือบางครั้งอาการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถนำมาดูแลตัวเองได้ที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องมาถึงโรงพยาบาล
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  13 ก.ค. 64 
 
วช.ชู'วิจัย'สู้โควิด แก้วิกฤตและฟื้นฟูประเทศ
การพัฒนาห้องความดันลบที่สามารถเคลื่อนย้ายได้เพื่อใช้เป็นห้อง ICU ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ห้องความดันลบต้นแบบได้รับการออกแบบให้มีสองห้องติดกัน สามารถติดตั้งได้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร ติดตั้งง่าย สะดวกรวดเร็ว ทำให้โรงพยาบาลลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อของผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจที่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น และสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น วัณโรค ได้ราคาประมาณ 1,400,000-1,600,000 บาท/ห้อง โดยมีการส่งมอบห้องให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หนังสือพิมพ์มติชน:  12 ก.ค. 64 
 
สนง.สลากฯส่งต่อความห่วงใยมอบ20ล้านบ.
สานักงานสลากฯ ได้ดาเนินการมาอย่างต่อเนื่อง แต่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน คือการส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งล่าสุดในสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกกาลังเผชิญการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจานวนมาก ทาให้โรงพยาบาล มูลนิธิ หรือสถาบัน มีความจาเป็นต้องมีความพร้อมทางด้านบุคลากร และอุปกรณ์เวชภัณฑ์เพื่อทาการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  11 มิ.ย. 64 
 
อว.เปิด11 จุดฉีดวัคซีนโควิดวันแรกคึกคัก
เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดจุดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว)และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.)ได้ดูแลศูนย์ฉีดกลาง จำนวน 11 จุดนั้น ตั้งแต่ช่วงเช้าศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.ได้เดินทางไปเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง(ม.ร.)ซึ่งเป็น 1 ใน 11 ศูนย์ที่ อว.จัดตั้งขึ้นในการให้บริการฉีดวัคซีน ภาพรวม การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ศ.ดร.เอนกกล่าวว่า ม.ร.เป็นจุดฉีดวัคซีนที่สำคัญ เพราะมีสถานที่พร้อม คนพร้อม ทั้งนี้ จะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่บุคลากร นักศึกษา องค์กร สถาบันอื่นๆในประเภทกลุ่มและประชาชนตามที่นัดหมาย ไปจนกว่าภารกิจจะแล้วเสร็จ สามารถฉีดวัคซีนประมาณ 2,000 คนต่อวัน
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  8 มิ.ย. 64 
 
ยกวัคซีนไป 11 มหาวิทยาลัย
นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทปอ.ได้ขอวัคซีนจากกรมควบคุมโรคไป 9 แสนโดส เบื้องต้นได้มา 5 แสนโดส โดยเดือน มิ.ย.จะให้มาก่อน 2.5 แสนโดส มีมหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์ฉีดวัคซีน 11 แห่ง ได้แก่ จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหิดล รามคำแหง เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชภัฏธนบุรี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรังสิต
จะจัดสรรตามศักยภาพการฉีดแต่ละวันของแต่ละศูนย์ ภาพรวมจะได้รับวัคซีนตั้งแต่ 5,000 โดสถึง 30,000 โดส
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  4 มิ.ย. 64 
 
กกต.จับมือพตส. มอบอุปกรณ์การแพทย์-เงินสด สู้ภัยโควิด
ายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ กกต., นายกฤช เอื้อวงศ์ รองเลขาธิการ กกต., น.ส.สรุณี ผลทวี ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง รวมทั้งตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ทุกรุ่น มอบเงิน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การตรวจรักษาโรค ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น อาทิ ชุด PPE 500 ชุด, ถุงคลุมเท้า 500 ชุด, หน้ากาก N95  1,000 ชิ้น, แมสก์ 12,000 ชิ้น, แอลกอฮอล์เจล (500 ml) 96 ขวด, เงินสด 443,300 บาท, พัดลม 5 ตัว และขนม 3 ลัง เป็นต้น ให้แก่สถาบันบำราศนราดูร และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ตามกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์...
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  31 พ.ค. 64 
 
ไทยเจ๋งพัฒนายา'ไซทิซีน'เลิกบุหรี่สำเร็จ
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในฐานะรองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ สนับสนุนโดย สสส.กล่าวว่า ขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ มศว ร่วมกับศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สสส. และ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กำลังดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนายาเลิกบุหรี่ชนิดใหม่ในประเทศไทยที่ชื่อว่า ไซทิซีน (Cytisine) เป็นสารสกัดธรรมชาติจากเมล็ดจามจุรีสีทอง มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการถอนนิโคติน ทำให้ผ่อนคลายไม่หงุดหงิดในขณะที่เข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่
หนังสือพิมพ์มติชน:  31 พ.ค. 64 
 
'องค์การอนามัยโลก' ชี้โควิด-19 ระบาดหนักเชิญชวนผู้สูบบุหรี่ตัดสินใจใช้โอกาสนี้เลิกสูบ
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดรุนแรงนี้ การเลิกสูบบุหรี่จะส่งผลดีต่อชีวิตอย่างยิ่ง ช่วยทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 ได้ ในขณะที่คนที่ยังสูบบุหรี่อยู่นั้น เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตของตัวเอง เสี่ยงพิการ หรือป่วยติดเตียงไปชั่วชีวิตจากผลแทรกซ้อนของการติดโควิด-19 ที่เกิดได้ในทุกระบบสำคัญของร่างกาย โดยทั่วไปคนที่สูบบุหรี่รวม
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  31 พ.ค. 64 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6]  7  [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online