News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
September  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930
             
 Today is September 9, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

มูลนิธิ โรนัลด์ฯ มอบห้องสันทนาการเด็ก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
เปิดห้องสันทนาการแห่งใหม่ ตั้งอยู่ ณ แผนกกุมารเวชกรรม ชั้น 8 อาคาร 20 ชั้นศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยห้องสันทนาการ มีขนาด 30 ตารางเมตร ประกอบด้วย ของเล่นเสริมพัฒนาการ หนังสือการ์ตูนสร้างความรู้ สื่อภาพยนตร์การ์ตูนประกอบเพลงสร้างความสนุกสนาน เพื่อให้เด็กๆ รู้สึกผ่อนคลาย ภายในงานมีจิตอาสาจาก บริษัท แมคไทย จำกัด
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  1 ก.ค. 62 
 
'จิตอาสาคุณหมอจิ๋ว'ภารกิจร่วมดูแลผู้ป่วยเรื้อรังสูงวัย
ดร.ศศินันท์ วาสิน พยาบาลชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทานเผยว่า สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้จัดโครงการระยะยาวนำทีมนักสุขศึกษาลงพื้นที่จังหวัด
สระแก้ว ทำงานเชิงรุกรับสังคมผู้สูงวัย
มีการสร้างเครือข่ายกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, นักสาธารณสุข, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเยาวชนในพื้นที่ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถดูแลผู้สูงอายุในชุมชนได้
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  14 มิ.ย. 62 
 
บั้นปลายชีวิต 'นักเผาปอด'
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) จะมารีวิวถึงกลไกการทำลายปอดด้วยบุหรี่อย่างชัดๆ
"ทุกครั้งที่จุดบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า จะเกิด 2 อย่าง คือ 1.ความร้อน และ 2.สารเคมี ซึ่งทั้งสองอย่างล้วนทำลายปอดรวมไปถึงอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย"
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  24 พ.ค. 62 
 
ชุดตรวจวัณโรค45นาที 'มศว'คว้านวัตกรรมชาติ
ดตรวจวัณโรคแบบรวดเร็ว (TB D-tect) ผลงานของ รศ.ธงชัย แก้วพินิจ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ที่มองเห็นข้อจำกัด ของวิธีการตรวจแบบมาตรฐาน ซึ่งต้องใช้เวลา 1-2 เดือน ทำให้การรักษาและควบคุมการระบาดทำได้ยากและช้า
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  11 เม.ย. 62 
 
ก๊าซนรก!! "เซลล์สมองตาย-กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด"
รศ.นพ.สุทัศน์รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อมาให้คำตอบว่า "ลูกโป่งหัวเราะ" หรือ "Laughing Gas" ที่นักท่องเที่ยวนิยมสูดดมตามสถานบันเทิง มันอันตรายต่อชีวิตขนาดไหน
โดยแพทย์ได้เผยว่า ก๊าซที่ถูกอัดอยู่ภายในลูกโป่ง มันคือ "ก๊าซไนตรัสออกไซด์" ซึ่งนิยมใช้ในทางการแพทย์ในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันคนกลับเอามาใช้ในทางที่ผิดต่อร่างกาย หารู้ไม่ว่ามันเป็นพิษต่อร่างกาย หากสูดดมในปริมาณที่มากและต่อเนื่อง อาจส่งผลถึงตายได้
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  5 เม.ย. 62 
 
ใช้ยางแท้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์
นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับคณะแพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และคณะแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำงานวิจัย เพื่อนำน้ำยางพาราแท้ 100 เปอร์เซ็นต์
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  26 มี.ค. 62 
 
ภาวะการณ์ปวดข้อศอกเมื่อท่านปวดศอก
ภาวะการปวดข้อศอกนั้นพบได้บ่อยในเวชปฏิบัติโดยสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น หากเจ็บด้านข้างของข้อศอก มักจะมีปัญหาจากเส้นเอ็นมีภาวะสึกเสื่อม ที่เรียกกันบ่อย คือ tennis elbow หรือถ้าเจ็บบริเวณด้านในข้อศอก ก็มักจะวินิจฉัยว่าเป็น golfer elbow
ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อศอกในขั้นต้น อาจใช้ยาลดปวด
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  4 มี.ค. 62 
 
มิราเคิล ออฟ ซาวด์ ช่วย'เด็กบกพร่องทางการได้ยิน'
ผศ.พญ.จรินรัตน์ สิริรัฐวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาโสต สอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ แพทย์ที่ปรึกษาในชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย บอกว่า ปัญหาการได้ยินเสียงของเด็กส่วนใหญ่มาจากการตั้งครรภ์ของคุณแม่ดูแลตัวเองได้ดีแค่ไหน บ้านเราพาเด็กมารักษาช้าเมื่อเด็กมีอายุ 3-4 ขวบแล้ว อาจเพราะรู้ช้าหรือบางรายปฏิเสธการรักษา ขอแนะนำให้พาเด็กแรกเกิดตรวจทดสอบการได้ยิน หลังจากนั้นให้สังเกตเมื่อพูดคุยกับลูก โดยอยู่ด้านหลังเด็กแล้วลองเรียกเขา ถ้าเขาไม่ตอบเสียงเรียกก็อาจจะมีอะไรผิดปกติ หรือเมื่อเด็กอายุ 1 ขวบแล้วยังไม่เรียกพ่อ แม่ ควรนำเด็กมาตรวจการได้ยินเสียง อย่างช้าไม่เกินขวบครึ่ง อย่าปล่อยให้ประสาทหูเสื่อมมากจนกลายเป็นหูหนวก จะไม่สามารถรักษาได้ ในรายที่ประสาทหูเสื่อมไม่มาก ให้ใช้เครื่องช่วยฟัง แล้วฝึกพูด ฝึกฟัง ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติ
หนังสือพิมพ์มติชน:  14 ม.ค. 62 
 
ภัยเงียบ'ความดันโลหิตสูง
นพ.จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี อาจารย์แพทย์สาขาอายุรกรรม ประจำศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง แนะนำการดูสุขภาพว่า อาการของโรคความดันโลหิตสูง โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงความผิดปกติ เว้นแต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ระดับรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ ตามัว เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ ถือเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง และบอกไม่ได้ชัดเจน จึงทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่าเป็น "ฆาตกรเงียบ"
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  5 ธ.ค. 61 
 
ทีเอ็มบี ยื่นมือช่วยแก้ปัญหา เด็กมีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจรินรัตน์ สิริรัฐวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาโสต สอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ แพทย์ที่ปรึกษาในชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย เผยว่า ปัญหาการได้ยินเสียงของเด็กส่วนใหญ่มาจากการ ตั้งครรภ์ของคุณแม่ดูแลตัวเองได้ดีแค่ไหน บ้านเรา พาเด็กมารักษาช้าเมื่อเด็กมีอายุ 3-4 ขวบแล้ว อาจเพราะรู้ช้า หรือบางรายปฏิเสธการรักษา
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  29 พ.ย. 61 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15]  16  [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online