News Clips Online
 หน้าหลัก  ข่าวประจำสัปดาห์  มศว ในข่าว  สมาชิก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
April  2023
Su M Tu W Th F Sa
      1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30
             
 Today is April 1, 2023
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

ข่าวและกิจกรรม
ปฏิทิน มศว
ข่าวประกวดราคา/สอบราคา
หนังสือเวียน

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

'นักวิทย์'สายตรวจเชื้อโรค
รศ.โกสุม จันทร์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประยุกต์ใช้ความรู้ในเรื่องดีเอ็นเอเซ็นเซอร์พัฒนา ชุดทดสอบโรคติดเชื้อต่างๆ ทั้งวัณโรค ตับอักเสบบี ไข้เลือดออกรวมถึงแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร ที่มีความพิเศษคือ ใช้งานง่าย ราคาถูกแต่ประสิทธิภาพสูง ทั้งรู้ผลเร็วและแม่นยำ
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  20 ม.ค. 58 
 
หัก-บด เม็ดยาเรื่องเล็กๆ ที่ไม่เล็ก
ภ.ญ.ปภาวี ศรีสุข งานเภสัขกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า เมื่อรับประทานยาเม็ดเข้าไป หลังจากที่ยาเคลื่อนที่ผ่านปาก ยาเม็ดจะเดินทางไปยังหลอดอาหารและเกิดการละลายที่กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดที่ลำไส้เล็ก เพื่อไปยังอวัยวะต่างๆ แล้วจึงออกฤทธิ์ หากเป็นยาเม็ดธรรมดาก็จะละลายทั้งเม็ดและถูกดูดซึมไป การบดเม็ดยาธรรมดาไม่ได้ส่งผลเสียต่อผู้ป่วยนัก แต่ว่าเม็ดประเภทต่างๆ ที่ผลิตออกมาไม่ได้มีแค่ยาเม็ดธรรมดาเท่านั้น ยังมียาเม็ดเคลือบชนิดต่างๆ ที่มีจุดประสงค์ในการเคลือบแตกต่างกันออกไป มองด้วยตาเปล่าคงไม่มีทางรู้แน่นอน ซึ่งจุดนี้คือข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจบดยาสักเม็ด
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  12 ม.ค. 58 
 
เภสัชฯเตือนอันตรายบดยาเม็ดเรื่องเล็กๆที่อาจเป็นเรื่องใหญ่
เภสัชกรหญิง ปภาวีศรีสุขงานเภสัชกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกล่าวว่า ผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก ทำให้ไม่สามารถกินยาเม็ดได้ หากผู้ดูแลรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บดเม็ดยาให้ละเอียด ละลายใส่น้ำเพื่อหวังจะให้ผู้ป่วยกินยาได้ง่ายขึ้น
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  6 ม.ค. 58 
 
นักวิชาการอัดศิริราชหาทุนมูลนิธิไม่เหมาะ
นพ.สุธีร์ รัตนมงคลกุล อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เหมาะสมเพราะ 1.ศิริราชเป็นโรงเรียนแพทย์ 2.มีความเกี่ยวโยงกับเรื่องสุขภาพแต่ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังนั้น ขอให้มีการทบทวนเรื่องนี้ และสภามหาวิทยาลัยควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย
หนังสือพิมพ์มติชน:  27 พ.ย. 57 
 
ติ'ศิริราชมูลนิธิ'โปรโมตอาหารเสริม
นักวิชาการจวก "ศิริราชมูลนิธิ" จับมือบริษัทเอกชนขายอาหารเสริม หาเงินเข้ามูลนิธิ ชี้ไม่เหมาะสม เหตุเป็น ร.ร.แพทย์ ทำให้กลายเป็นการการันตีอาหารเสริมว่าดี ระบุควรรับเงินบริจาคโดยไม่มีภาระผูกพัน
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  27 พ.ย. 57 
 
ฟื้นฟูใจผู้ป่วยด้วยดนตรีบำบัด
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวใน กิจกรรม "Sook Activity" โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดอาการป่วยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ โดยผลวิจัยจากโรงพยาบาล ชาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย พบว่า คนไข้หลังการผ่าตัดที่ได้ฟังดนตรี คลาสสิกวันละ 25 นาที สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี
โพสต์ทูเดย์:  11 พ.ย. 57 
 
โรคฟันผุ ภาระทางสาธารณสุข
งานประชุมเชิงปฏิบัติการวินิจฉัยโรคฟันผุด้วยระบบ ICDAS/ICMMS (ไอซีดาส) เป็นระบบการตรวจระยะแรกเริ่มของโรคฟันผุที่ไม่ยุ่งยากและเป็นลำดับตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการประสานความร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน ในการขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมเพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในประเทศไทย โดยได้เชิญคณาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์จาก 9 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะที่เป็นต้นน้ำในการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ออกมาให้บริการตามสภาพปัญหาของประชาชนโดย การตรวจวินิจฉัย
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  30 ต.ค. 57 
 
มอบเครื่องช่วยหายใจชนิดเคลื่อนที่
สุธี ผ่องไพบูลย์ ผู้แทนสาธิต มศว ปทุมวัน รุ่น 24 และคณะ มอบเครื่องช่วยหายใจชนิดเคลื่อนที่ได้รวมมูลค่า 2,090,000 บาท ให้ นพ.ทรงวุฒิ ทรัพย์ทวีสิน ผอ.โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  27 ต.ค. 57 
 
มหัศจรรย์ 'ดนตรีบำบัด' ฟื้นฟูพลังกาย-ใจ
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญาภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่า ปัจจุบันดนตรีบำบัดเริ่มเข้ามามีบทบาทในทางการแพทย์มากขึ้นและเริ่มได้รับความสนใจ ระยะหลังมีงานวิจัยออกมามากทั้งในและต่างประเทศ
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  24 ต.ค. 57 
 
มหัศจรรย์ ดนตรีบำบัด
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดอาการป่วยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ โดยผลวิจัยพบว่า คนไข้หลังการผ่าตัดที่ได้ฟังดนตรีคลาสสิกวันละ 25 นาที สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี การใช้ดนตรีบำบัดให้ได้ผล ผู้ฟังควรมีสมาธิเพื่อให้ประสาทหูและสมองได้ทำงานร่วมกันอย่าง เต็มที่ อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมคือ 25 องศาเซลเซียส แสงในห้องต้องไม่จ้าเกินไป จังหวะเพลงที่เหมาะสม และฟังอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน พร้อมกับรักษาจิตใจควบคู่ไปด้วยจึงจะได้ผลดี
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก:  8 ต.ค. 57 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20]  21  [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [ Next -> ]

News Clips Online