News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 18, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

'มศว'มอบจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยเอกชนต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะเจ้าของผลงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกกล่าวว่า "เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 เป็นจุลิน ทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย ที่มีการพิสูจน์คุณสมบัติแล้วว่าเป็นโพรไบโอติกที่ดี และได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่ได้มาตรฐานเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่ามีคุณสมบัติจำเพาะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แม้จะพบว่ามีคุณสมบัติเด่นในการลดไขมันและคอเลสเตอรอล เป็นสายพันธุ์ที่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยนั้นสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียง เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก ไม่ใช่ยาหรือสารเคมี หากแต่เป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายของคนเราหากบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อเติมสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพองค์รวม
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  4 พ.ย. 65 
 
4 นาทีแห่งความตาย ต้นเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอน
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี” อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า การขาดอากาศหายในเหตุชุลมุน มีสาเหตุมาจากการอยู่ในพื้นที่แออัด ทำให้มีการกดทับ เช่น พื้นที่เป็นซอยแคบขนาบข้างด้วยตึกและกำแพง เมื่อเกิดการแออัดมากๆ ทำให้เกิดการกดทับบริเวณทรวงอก ทำให้หน้าอกขยายออกไม่ได้ สิ่งนี้ทำให้ระบบการหายใจไม่เป็นปกติ หลังจากนั้นจะเกิดอาการหมดสติ และเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  1 พ.ย. 65 
 
โรคภูมิแพ้กับมลพิษ PM2.5 และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมลพิษ PM2.5
ผลกระทบของมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกคาดว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะเกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในอีก 28 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2593) และปัญหามลพิษทางอากาศของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานชัดเจนแสดงถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ทำให้กลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  20 ก.ย. 65 
 
ฝึกเพิ่มพลังสมอง'ความจำ' 'สตรอง'ชะลอความเสื่อมถอย
การฝึกเพิ่มพลังสมองให้สตองช่วยการจดจำที่แม่นยำ มีเรื่องน่ารู้และมีวิธีการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอสมอง เสื่อม โดย พญ.อชิรญา สุวรรณหงส์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวช ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒให้ความรู้ในประเด็นนี้ว่า สมอง มีความสำคัญสามารถจะฝึกฝนพัฒนาได้ สมองมีหน้าที่หลายอย่าง โดยเรื่องของความจำเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ดังที่กล่าวมีผลต่อการใช้ชีวิต ประจำวัน การทำงานและการเรียนซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัยความจำและการจดจำ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  6 ก.ย. 65 
 
นักเรียนทุนอานันทมหิดล สาขาทันตแพทยศาสตร์ ต่อยอดความรู้
รศ.ทพญ.ดร.อรุณวรรณ หลำอุบล ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หนึ่งในผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกทันตแพทย์ศาสตร์ ให้ไปศึกษาต่อที่ The University of Iowa สหรัฐอเมริกา ในสาขาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และทำวิจัยในระดับปริญญาเอก โดยที่มุ่งเน้นศึกษาเรื่องของกลไกการเกิดโรคมะเร็งช่องปากกล่าวว่า ทุนที่พระองค์ท่านให้ก่อเกิดประโยชน์กับคนมากกว่าหนึ่งคน แล้วก็ได้ให้กับประชาชนของพระองค์ท่านในวงกว้าง ซึ่งในฐานะที่ตนเองเป็นอาจารย์ก็ถ่ายทอดความรู้ให้กับนิสิตทันตแพทย์ที่เราสอนในหลายๆ มหาวิทยาลัย และในฐานะทันตแพทย์ก็ได้นำความรู้ที่ได้มาดูแลรักษาผู้ป่วยด้วย
หนังสือพิมพ์โลกวันนี้:  1 ก.ย. 65 
 
เปิดวิสัยทัศน์ “วรวุฒิ กุลแก้ว”กับภารกิจขับเคลื่อน มูลนิธิทันตนวัตกรรม
นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ซึ่งมูลนิธิทันตนวัตกรรมเป็นมูลนิธีที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมจากฝีมือนักวิจัยไทย เพื่อแก้ปัญหาโรคทางด้านทันตกรรมแบบครบวงจร ทั้งการวิจัยและพัฒนาตามมาตรฐานสากล
ฐานเศรษฐกิจ:  31 ส.ค. 65 
 
'ทนฟังไม่ได้'ใช่โรค? 'เกลียดเสียง' แปลกแท้..แต่'มีจริง!!'
เว็บไซต์ของงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวช ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับ "โรคเกลียดเสียง" นี้เอาไว้น่าสนใจเช่นกัน กล่าวคือ...จากสถิติแล้วนั้น ผู้ป่วยโรคเกลียดเสียงมักจะเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 9-13 ปี และส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้หญิง ซึ่งภาวะอาการนั้นจะค่อย ๆ เป็นไปทีละน้อย จะเกิดขึ้นไม่เร็ว ดังนั้นจึงทำให้จับสังเกตอาการไม่ค่อยได้ในระยะแรก ๆ ทว่าเมื่ออาการเกิดถี่ขึ้น หรือเป็นบ่อยขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงจะทราบว่าคน คนนั้นป่วยเป็นโรคเกลียดเสียง หรือมี "ภาวะมีโซโฟเนีย" เข้าให้แล้ว!!.
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  25 ส.ค. 65 
 
โรคระบาด: วิธีจัดการในอดีต
ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสูง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของหนังสือ "จากปีศาจ สู่เชื้อโรค" ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทยผู้ปลุกปั้นวิชาประวัติศาสตร์การแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ว่า วิธีการจัดการโรคระบาดในสมัยโบราณง่ายมาก คือ 1.ย้ายเมืองหนี 2.ทำพิธีปลอบขวัญ ก็จบ แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เราต้องขยายความบริบททางสังคมความเชื่อ ว่าทำไมต้องใช้วิธีการนี้
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  17 ส.ค. 65 
 
มอบรางวัล“โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ ด้านการแพทย์และสุขภาพรายใหม่”
ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กลาง) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลในงาน “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการด้านการแพทย์และสุขภาพรายใหม่” กิจกรรม : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์และสุขภาพ การ Pitching เพื่อการต่อยอดธุรกิจ โดยมี ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ที่ 3 จากซ้าย) และผศ.ดร.วีระนันท์ คำนึงวุฒิ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มศว
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  11 ส.ค. 65 
 
ครบรอบ 120 ปี
ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน, ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล, เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดี และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมมอบเงินสมทบทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ในโอกาสครบรอบ 120 ปี กรมชลประทาน และจัดงาน "120 ปี กรมชลประทาน 6 รัชกาล งานของแผ่นดิน" โดยจัดแสดงนิทรรศการผลงานชลประทาน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ "120 ปี กรมชลประทาน" ภายใต้ชื่อ "มหัศจรรย์แห่งสายน้ำเพื่อชีวิต" มีผู้เข้าชมและร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

หนังสือพิมพ์มติชน:  27 ก.ค. 65 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4]  5  [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online