News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 18, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

เตือนโทษ'บุหรี่ไฟฟ้า'แรงกว่าแบบมวน6เท่า
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ประเด็นที่มีคนนำมาอ้างว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย ไม่มีสารพิษ เมื่อเทียบกับบุหรี่มวนหรือก้นกรองทั่วไปนั้น เป็นความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการศึกษาพบว่า มีสารเคมีต่างๆ อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นสารนิโคตินและอื่นๆ โดยเฉพาะนิโคตินซึ่งบุหรี่ไฟฟ้ามีระดับสารนิโคตินมากกว่าหรือเข้มข้นกว่าบุหรี่มวนประมาณ 6 เท่า ถ้าสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1 มวน เท่ากับสูบบุหรี่มวน 6 มวน
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  2 มิ.ย. 57 
 
นวัตกรรมลดโรคหอบ
ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ศึกษาวิจัยนวัตกรรมเครื่องขยายหลอดลมผู้ป่วยหอบหืดด้วยคลื่นความร้อนเพื่อนำมาบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก ซึ่งหลักการทำงานของเครื่องมือเป็นการอาศัยความร้อนจากพลังานคลื่นความถี่วิทยุในย่านความถี่ 375-500 กิโลเฮิรตซ์และใช้อุณหภูมิประมาณ 55-65 องศาเซลเซียส
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  2 มิ.ย. 57 
 
4หญิงเก่งนักวิจัยคว้ารางวัลระดับโลก
อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทย เมื่อ 4 สาวนักวิจัย แท็กทีมนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ไปคว้ารางวัลในเวทีโลก "42nd International Exhibition of Inventions of Geneva" ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
เริ่มที่ รศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มศว ผู้คว้ารางวัลเหรียญทองเกียรติยศ ในผลงาน "ชุดทดสอบดีเอ็นเอไบโอเซ็นเซอร์สำหรับการตรวจวินิจฉัยเชื้อ Shigella and Enteroinvasive E.coli"
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  28 พ.ค. 57 
 
คณะแพทย์ 'มศว' เตือนนอนกรน อาจเป็นปัญหาหนักถึงกับบ้านแตก
ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยถึง โรคนอนกรนพบได้บ่อยในคนไทยผู้ชายราวร้อยละ 40 ผู้หญิงราวร้อยละ 20 นับว่าเป็นความผิดปกติขณะหลับอย่างหนึ่ง เกิดในขณะหลับนั้นมีการหายใจติดขัด ช่องทางเดินหายใจแคบลงกว่าปกติ ลมหายใจเข้าออกแรงกระแทกทางเดินหายใจจนเกิดเสียงดังผิดปกติขึ้น ในรายที่เป็นมากมีโรคหยุดหายใจขณะหลับตามมา งานวิจัยค้นคว้าตำราเกี่ยวข้องกับโรคหยุดหายใจหรือหายใจผิดปกติขณะหลับมีเผยแพร่ออกมาอย่างกว้างขวางมากมายในระยะสามสิบปีนี้ สังเกตกันได้เสมอว่าคนอ้วนมีอาการนี้ได้มากกว่าคนธรรมดาถึง 3 เท่า อาการนี้ไม่ได้ผูกขาดอยู่กับคนอ้วน ในผู้ชาย หรือในผู้ใหญ่เท่านั้น
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  20 พ.ค. 57 
 
เตือนภัย'บุหรี่ไฟฟ้า' ยาเสพติดแปลงกาย
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกว่า สิ่งที่ผู้ขายพยายามอ้างคือ บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย สูบแล้วไม่มีพิษภัย ปัจจุบันมีงานวิจัยทางการแพทย์ชี้ถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ 100 ปีที่แล้ว เรายังไม่รู้จักพิษภัยของบุหรี่ สถานการณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าขณะนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน ที่เรายังไม่รู้จักพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าดีพอ
หนังสือพิมพ์มติชน:  20 พ.ค. 57 
 
แพทย์มศวเตือน อ้วนเสี่ยง'กรน' คำรามดังคู่รักร้าง
ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยถึงโรคนอนกรนว่าพบบ่อยในคนไทย เพศชาย ร้อยละ 40 เพศ หญิงร้อยละ 20 นับว่าเป็นความผิดปกติขณะหลับอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการหายใจติดขัดช่องทางเดินหายใจแคบลงกว่าปกติ ลมหายใจเข้า-ออกแรงกระแทกทางเดินหายใจจนเกิดเสียงดังผิดปกติขึ้น ในรายที่เป็นมากอาจมีโรคหยุดหายใจขณะหลับตามมา ซึ่งมีงานวิจัยเกี่ยวข้องกับโรคหยุดหายใจหรือหายใจผิดปกติขณะหลับ เผยแพร่ออกมาอย่างกว้างขวางในระยะสามสิบปีนี้ ข้อสังเกตประการหนึ่งคือกลุ่มคนอ้วนทั้งชายและหญิงมักมีอาการนอนกรนมากกว่าคนธรรมดาถึง 3 เท่า
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  16 พ.ค. 57 
 
อ้วนเสี่ยงนอนกรนตัวการปัญหาหย่าร้าง
"นอนกรน" ปัญหาสำคัญของหลายคน ซึ่ง ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ (มศว) เผยถึงโรคนอนกรนว่า พบได้บ่อยในคนไทยผู้ชายราวร้อยละ 40 ผู้หญิงราวร้อยละ 20 นับว่าเป็นความผิดปกติขณะหลับอย่างหนึ่ง ขณะหลับนั้นมีการหายใจติดขัด ช่องทางเดินหายใจแคบลงกว่าปกติ ลมหายใจเข้าออกแรงกระแทกทางเดินหายใจ จนเกิดเสียงดังผิดปกติขึ้น ในรายที่เป็นมากมีโรคหยุดหายใจขณะหลับตามมา
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  16 พ.ค. 57 
 
แถลงข่าวเรื่อง"เตือนภัยบุหรี่อิเล็กโทรนิกส์ เสี่ยงมะเร็ง"
ผศ.ดร.ศรีรัช ลอยสมุทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมด้วยภก.คฑา บัณฑิตานุกูล เครือข่ายเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่และผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง"เตือนภัยบุหรี่อิเล็กโทรนิกส์ เสี่ยงมะเร็ง" จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย:  7 พ.ค. 57 
 
ทันโลกทันเหตุการณ์กับแพทยสภา: โรคนอนกรน (ตอนจบ)
ผู้ที่มีอาการนอนกรนอยู่เป็นประจำเกิดการหายใจติดขัด อยู่เป็นเวลานานเป็นเดือนเป็นปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด การหลับ ไม่ต่อเนื่อง อาการง่วงนอนมากผิดปกติตอนกลางวัน โรคหยุดหายใจขณะหลับ การดูแลรักษา
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  6 พ.ค. 57 
 
เก็บยาสะสม...เป็นภัยต่อสุขภาพแบบไม่รู้ตัว
ภ.ญ.สุชีรา ลีโทชวลิต งานเภสัชกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยว่า การสะสมยาก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน ประการแรกต้องดูก่อนว่าสาเหตุที่ยาเหลือเพราะอะไร ถ้าเกิดจากการลืมกินยา ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าการกินยาและการดูแลตัวเองเพื่อรักษาโรคของเรานั้นไม่มีประสิทธิภาพ ผลเสียจากการลืมกินยาหรือกินยาไม่ครบนั้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง:  6 พ.ค. 57 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25]  26  [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online