News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 18, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

มูลนิธิ โรนัลด์ฯ มอบห้องสันทนาการเด็ก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
เปิดห้องสันทนาการแห่งใหม่ ตั้งอยู่ ณ แผนกกุมารเวชกรรม ชั้น 8 อาคาร 20 ชั้นศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยห้องสันทนาการ มีขนาด 30 ตารางเมตร ประกอบด้วย ของเล่นเสริมพัฒนาการ หนังสือการ์ตูนสร้างความรู้ สื่อภาพยนตร์การ์ตูนประกอบเพลงสร้างความสนุกสนาน เพื่อให้เด็กๆ รู้สึกผ่อนคลาย ภายในงานมีจิตอาสาจาก บริษัท แมคไทย จำกัด
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  1 ก.ค. 62 
 
'จิตอาสาคุณหมอจิ๋ว'ภารกิจร่วมดูแลผู้ป่วยเรื้อรังสูงวัย
ดร.ศศินันท์ วาสิน พยาบาลชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทานเผยว่า สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้จัดโครงการระยะยาวนำทีมนักสุขศึกษาลงพื้นที่จังหวัด
สระแก้ว ทำงานเชิงรุกรับสังคมผู้สูงวัย
มีการสร้างเครือข่ายกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, นักสาธารณสุข, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเยาวชนในพื้นที่ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถดูแลผู้สูงอายุในชุมชนได้
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  14 มิ.ย. 62 
 
บั้นปลายชีวิต 'นักเผาปอด'
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) จะมารีวิวถึงกลไกการทำลายปอดด้วยบุหรี่อย่างชัดๆ
"ทุกครั้งที่จุดบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า จะเกิด 2 อย่าง คือ 1.ความร้อน และ 2.สารเคมี ซึ่งทั้งสองอย่างล้วนทำลายปอดรวมไปถึงอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย"
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  24 พ.ค. 62 
 
ชุดตรวจวัณโรค45นาที 'มศว'คว้านวัตกรรมชาติ
ดตรวจวัณโรคแบบรวดเร็ว (TB D-tect) ผลงานของ รศ.ธงชัย แก้วพินิจ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ที่มองเห็นข้อจำกัด ของวิธีการตรวจแบบมาตรฐาน ซึ่งต้องใช้เวลา 1-2 เดือน ทำให้การรักษาและควบคุมการระบาดทำได้ยากและช้า
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  11 เม.ย. 62 
 
ก๊าซนรก!! "เซลล์สมองตาย-กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด"
รศ.นพ.สุทัศน์รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อมาให้คำตอบว่า "ลูกโป่งหัวเราะ" หรือ "Laughing Gas" ที่นักท่องเที่ยวนิยมสูดดมตามสถานบันเทิง มันอันตรายต่อชีวิตขนาดไหน
โดยแพทย์ได้เผยว่า ก๊าซที่ถูกอัดอยู่ภายในลูกโป่ง มันคือ "ก๊าซไนตรัสออกไซด์" ซึ่งนิยมใช้ในทางการแพทย์ในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันคนกลับเอามาใช้ในทางที่ผิดต่อร่างกาย หารู้ไม่ว่ามันเป็นพิษต่อร่างกาย หากสูดดมในปริมาณที่มากและต่อเนื่อง อาจส่งผลถึงตายได้
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  5 เม.ย. 62 
 
ใช้ยางแท้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์
นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับคณะแพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และคณะแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำงานวิจัย เพื่อนำน้ำยางพาราแท้ 100 เปอร์เซ็นต์
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  26 มี.ค. 62 
 
ภาวะการณ์ปวดข้อศอกเมื่อท่านปวดศอก
ภาวะการปวดข้อศอกนั้นพบได้บ่อยในเวชปฏิบัติโดยสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น หากเจ็บด้านข้างของข้อศอก มักจะมีปัญหาจากเส้นเอ็นมีภาวะสึกเสื่อม ที่เรียกกันบ่อย คือ tennis elbow หรือถ้าเจ็บบริเวณด้านในข้อศอก ก็มักจะวินิจฉัยว่าเป็น golfer elbow
ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อศอกในขั้นต้น อาจใช้ยาลดปวด
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  4 มี.ค. 62 
 
มิราเคิล ออฟ ซาวด์ ช่วย'เด็กบกพร่องทางการได้ยิน'
ผศ.พญ.จรินรัตน์ สิริรัฐวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาโสต สอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ แพทย์ที่ปรึกษาในชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย บอกว่า ปัญหาการได้ยินเสียงของเด็กส่วนใหญ่มาจากการตั้งครรภ์ของคุณแม่ดูแลตัวเองได้ดีแค่ไหน บ้านเราพาเด็กมารักษาช้าเมื่อเด็กมีอายุ 3-4 ขวบแล้ว อาจเพราะรู้ช้าหรือบางรายปฏิเสธการรักษา ขอแนะนำให้พาเด็กแรกเกิดตรวจทดสอบการได้ยิน หลังจากนั้นให้สังเกตเมื่อพูดคุยกับลูก โดยอยู่ด้านหลังเด็กแล้วลองเรียกเขา ถ้าเขาไม่ตอบเสียงเรียกก็อาจจะมีอะไรผิดปกติ หรือเมื่อเด็กอายุ 1 ขวบแล้วยังไม่เรียกพ่อ แม่ ควรนำเด็กมาตรวจการได้ยินเสียง อย่างช้าไม่เกินขวบครึ่ง อย่าปล่อยให้ประสาทหูเสื่อมมากจนกลายเป็นหูหนวก จะไม่สามารถรักษาได้ ในรายที่ประสาทหูเสื่อมไม่มาก ให้ใช้เครื่องช่วยฟัง แล้วฝึกพูด ฝึกฟัง ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติ
หนังสือพิมพ์มติชน:  14 ม.ค. 62 
 
ภัยเงียบ'ความดันโลหิตสูง
นพ.จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี อาจารย์แพทย์สาขาอายุรกรรม ประจำศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง แนะนำการดูสุขภาพว่า อาการของโรคความดันโลหิตสูง โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงความผิดปกติ เว้นแต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ระดับรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ ตามัว เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ ถือเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง และบอกไม่ได้ชัดเจน จึงทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่าเป็น "ฆาตกรเงียบ"
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  5 ธ.ค. 61 
 
ทีเอ็มบี ยื่นมือช่วยแก้ปัญหา เด็กมีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจรินรัตน์ สิริรัฐวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชาโสต สอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ แพทย์ที่ปรึกษาในชมรมประสาทหูเทียมแห่งประเทศไทย เผยว่า ปัญหาการได้ยินเสียงของเด็กส่วนใหญ่มาจากการ ตั้งครรภ์ของคุณแม่ดูแลตัวเองได้ดีแค่ไหน บ้านเรา พาเด็กมารักษาช้าเมื่อเด็กมีอายุ 3-4 ขวบแล้ว อาจเพราะรู้ช้า หรือบางรายปฏิเสธการรักษา
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  29 พ.ย. 61 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15]  16  [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online