ทั่วไป: สถานทูตไทยในเดนมาร์ก เสริมทักษะ สร้างความ มั่นคงในครอบครัวแก่หญิงไทย
สถานทูตยังจัดทำ โครงการรักษ์ไทย อนุรักษ์ความเป็นชาติไทย ทั้งด้านประเพณี วัฒนธรรมและภาษาไทย ในหมู่เยาวชนสัญชาติไทย หรือเชื้อสายไทยในเดนมาร์กที่มีอายุระหว่าง 7-14 ปี เป็นการสร้างจิตสำนึกให้มีความผูกพันกับประเทศไทย มีความหวงแหนและธำรงไว้ซึ่งคุณค่าความเป็นไทยให้ ดำรงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน โครงการสอนภาษาไทยนี้ ดำเนินการสอนโดยครูอาสา ซึ่งเป็นคนไทยในเดนมาร์กซึ่งส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากประเทศไทย และครูอาสาส่วนหนึ่งได้เคยเข้ารับการอบรมกลวิธีการสอนจากคณะ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่เดินทางมาสอนเยาวชนไทยและอบรมคณะครูอาสาเมื่อเดือนเมษายน 2551 |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 28 ต.ค. 51 |
|
|
 |
ทั่วไป: มศวตั้งมูลนิธิสร้างคุณภาพหมอใหม่
ศ.น.พ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ มศว กำลังดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิพัฒนาแพทยศาสตร์ศึกษา มศว ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาแพทย์ มศว ให้มีคุณภาพตามหลักการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาแพทย์ มศว 6 ด้าน |
หนังสือพิมพ์ข่าวสด: 28 ต.ค. 51 |
|
|
 |
ทั่วไป: เครือข่ายปัญญาสยามเสนอวัดความรู้ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)และเลขาธิการเครือข่ายปัญญาสยาม เปิดเผยว่ากลุ่มอาชีพต่างๆ มาจากนักวิชาการมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แพทย์ วิศวกร นักกฏหมาย นักบัญชี เภสัชกร สถาปนิก และนักธุรกิจรวมกลุ่มภายใต้ชื่อ เครือข่ายปัญญาสยาม เพื่อทำงานทางการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง |
หนังสือพิมพ์มติชน: 27 ต.ค. 51 |
|
|
 |
ทั่วไป: “เครือข่ายปัญญาสยาม”ขอรัฐสร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และเลขาธิการเครือข่ายปัญญาสยาม เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มอาชีพต่างๆ มาจากนักวิชาการมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แพทย์ วิศวกร นักกฏหมาย นักบัญชี เภสัชกร สถาปนิก และนักธุรกิจรวมกลุ่มภายใต้ชื่อ เครือข่ายปัญญาสยาม เพื่อทำงานทางการเมือง โดยทางเครือข่ายพยายามจะทำก็คือให้ความรู้ และแนวทางการแก้ปัญหาทางการเมืองแก่สังคมไทย |
หนังสือพิมพ์มติชน: 24 ต.ค. 51 |
|
|
 |
ทั่วไป: พิมพ์หนังสือทัพธรรม“หลวงพ่อปัญญา” เตือนสติคนไทย
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมว่ากองทุนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุและศูนย์ศึกษาและเผยแพร่พุทธธรรม ปัญญานันทภิกขุ “ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” (โรงพยาบาลชลประทาน) จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกเพื่อแสดงกตเวทิตาจิตแด่ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) เป็นหนังสือสาระและภาพตลอดชีวิตของหลวงพ่อ ซึงจะช่วยให้กระตุ้นเตือนสติคนไทย ในการรักษาศีล รักษาธรรม |
หนังสือพิมพ์มติชน: 24 ต.ค. 51 |
|
|
 |
ทั่วไป: "เมืองไทยไปทางไหนดี...?"
เมืองไทยไปทางไหนดี...? ขึ้นอยู่กับถามใคร รัฐบาลตอบว่าก็ไปตามปกติ มีรัฐบาลคณะรัฐมนตรี บริหารประเทศ ตำรวจ ทหาร ดูแลความเรียบร้อย หากถามพันธมิตรจะตอบถึงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลหุ่นเชิด ต้องขับไล่ออกไป สร้างการเมืองใหม่ |
หนังสือพิมพ์มติชน: 22 ต.ค. 51 |
|
|
 |
ทั่วไป: สร้าง “ภูมิต้านทาน” สู้โลกร้อน
ดร. จิตรา ดุษฎีเมธา กล่าวว่า จากข้อมูลจากสถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาการเด็กและครอบครัว ที่ได้จัดทำเป็นสถิติในรอบ 5 ปีที่ผ่านมานั้น พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีพัฒนาการรวมปกติทุกด้านเพียงร้อยละ 70 ส่วนอีกร้อยละ 30 นั้นถือว่ามีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า ส่วนใหญ่มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษา การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การปรับตัว และการช่วยเหลือตนเอง |
หนังสือพิมพ์แนวหน้า: 22 ต.ค. 51 |
|
|
 |
การศึกษา: มศว ทุกคณะเปิดโอกาสให้นักเรียนผู้ที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภท
ศว ทุกคณะเปิดโอกาสให้นักเรียนผู้ที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภทได้มีโอกาสเข้าเรียนหากสอบได้ ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดี กำชับเกณฑ์การรับไม่จำเป็นต้องเป็นเกณฑ์เดียวกับการรับนักเรียนปกติเข้าเรียน |
หนังสือพิมพ์ข่าวสด: 21 ต.ค. 51 |
|
|
 |
การศึกษา: มศว เปิดทางให้ผู้ที่มีความต้องการพิเศษสอบเข้าเรียนมศว
อธิการบดี มศว เสนอเกณฑ์การคัดเลือกคนละเกณฑ์กับเด็กปกติ ถือเป็นการเปิดโอกาส ให้ทางเลือกในการพัฒนาศักยภาพตัวเอง
|
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก: 20 ต.ค. 51 |
|
|
 |
การศึกษา: มศว แนะเทคนิคสอนภาษาเด็กปฐมวัยแนวใหม่
รศ.ดร.เยาวพา เดชะคุปต์ อาจารย์สาขาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) หัวหน้าโครงการพัฒนาทัศนะใหม่ทางการศึกษาปฐมวัย : กระบวนการพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในทศวรรษใหม่ เปิดเผยว่า ขณะนี้แนวคิดทางด้านการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีรูปแบบการพัฒนาทางภาษาหลายรูปแบบ โดยคำนึงถึงสมองเป็นฐานในการเรียนรู้มากขึ้น |
หนังสือพิมพ์ข่าวสด: 20 ต.ค. 51 |
|
|
 |