ทั่วไป: คนรุ่นใหม่"เอคิว"ต่ำพ่ายอุปสรรค แนะตั้งเป้าหมายพิชิตความสำเร็จ
การวัดความสำเร็จของมนุษย์ว่าในอดีตว่าต้องมีร่างกายแข็งแรง กำยำ ดูได้จากในอดีตตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน หรือในสมัยอยุธยา ต่อจากนั้นเชื่อว่าคนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเป็นคนที่มีไอคิว (Intelligence Quotient) ดี ฉลาด แต่ความฉลาดเพียงอย่างเดียวก็เริ่มทำให้คนไม่ประสบความสำเร็จ จะเห็นว่าคนที่มีไอคิวดี มีความรอบรู้มากมายแต่เอาตัวไม่รอดเมื่อประสบปัญหาต่างๆ มีความคิดมีความฉลาดแต่ไม่มีความเฉลียว |
หนังสือพิมพ์มติชน: 19 มิ.ย. 49  |
|
|
 |
ทั่วไป: แนะพ่อแม่เลี้ยงลูกโดยหลักธรรม 'เดินทางสายกลาง'
ปัญหาของเด็กในยุคปัจจุบันที่ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือตัดสินใจในบางเรื่องได้ บางคนจะซื้อของใช้หรือจะซื้ออาหารรับประทานต้องถามพ่อแม่ จะแต่งตัวยังต้องให้แม่เลือกเสื้อผ้าให้ บางครอบครัวลูกเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยแม่ยังต้องป้อนข้าว การเลี้ยงดูเด็กและเยาวชนในลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับครอบครัวชนชั้นกลางถึงชนชั้นสูง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ การเลี้ยงดูเด็กและเยาวชนในลักษณะนี้จะทำให้เด็กไม่รู้จักโต
|
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง: 19 มิ.ย. 49  |
|
|
 |
การศึกษา: เทิดทูน “ในหลวง” นักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 60 ปี ประชาชนชาวไทย ทุกสาขาอาชีพต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ตั้งใจทำความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน จึงอยากเชิญชวนให้นักการศึกษาไทยร่วมกันเดินตามพระยุคลบาท ที่ทรงเป็นแบบอย่างในการทำงานด้านการศึกษา พระองค์ท่านทรงเป็นผู้สร้างความรู้ มากกว่าผู้ใช้ความรู้เพียงอย่างเดียว ทรงใช้แนวทางการศึกษาแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศชาติ โดยการลงพื้นที่ ศึกษา ดูสภาพเพื่อให้เข้ากับบริบทของสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตชองประเทศ แต่จะไม่หยิบความรู้จากตำรา หรือความรู้จากตะวันตกมาใช้เพียงอย่างเดียวเหมือนนักวิชาการไทยจำนวนไม่น้อยนิยมทำกัน
|
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ: 13 มิ.ย. 49  |
|
|
 |
การศึกษา: “ในหลวง” นักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่
ภาพแห่งความประทับใจแต่ภาพที่เกิดขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครอบ 60 ปี สร้างความปิติ ยินดีและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ท่านไม่เสื่อมคลาย พระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนไทยทั้งแผ่นดิน
|
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน: 12 มิ.ย. 49 |
|
|
 |
การศึกษา: สาธิต"มศว"ทุ่มงบฯศึกษา
โรงเรียนยังใช้งบฯ พัฒนาการเรียนการสอนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ใช้งบฯพัฒนาเด็กต่อหัวต่อคนต่อปี 20,000 บาท ขณะที่รัฐบาลให้ 2,700 บาท ซึ่งต่างกันถึง 7 เท่า |
หนังสือพิมพ์มติชน: 7 มิ.ย. 49  |
|
|
 |
การศึกษา: คนพิการวอนมหา’ลัยเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก
ในปีการศึกษา 2549 มีนักศึกษาพิการได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามากที่สุดรวม 28 คน ใน 12 สถาบัน ขณะที่ผ่านมาจะมีเพียง 5-10 คนเท่านั้น ทำให้เห็นว่าปัจจุบันสถาบัน อุดมศึกษาเปิดโอกาสให้เด็กพิการมากขึ้น |
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์: 7 มิ.ย. 49  |
|
|
 |
เทคโนโลยี: ใช้เทคโนโลยีแห่งตัวตน “เลิกยาเสพติด”
เชื่อว่าถ้าคุณถามคำถามนี้กับใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ คงไม่มีใครกล้าพอที่จะบอกความจริง โดยเฉพาะกับคนที่ไม่สนิทสนมด้วยแล้ว อย่าหวังว่าคุณจะได้คำตอบที่เป็นจริง
น่าคิด! ทำไมคนในสังคมที่ติดยาเสพติด กระทั่งกำลังเสพอยู่หรือเลิกได้แล้วก็ตามถึงไม่กล้ายอมรับความจริง
เป็นเพราะสังคมกำหนดว่าการเสพยาเสพติดเป็นความผิด ถือเป็นความผิด 3 ประการ 1 ความผิดในฐานะหน้าที่มนุษย์ 2. ผิดกฎหมาย 3.ผิดศีลธรรม สังคมได้กำหนดความผิดไว้ล่วงหน้า และนี่กระมัง ที่ทำให้ทุกคนต้องปกปิดความจริง
|
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน: 29 พ.ค. 49 |
|
|
 |
การศึกษา: นร.พึ่งศาลชี้เสียสิทธิแอดมิชชั่นกลาง
ผู้บริหาร มศว เตรียมนัดถก นร. - ผู้ปกครอง ที่เดือดร้อน เพื่อแก้ไขปัญหา ในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ด้านอาจารย์จุฬาฯ ชี้ ทปอ.จะต้องจัดระเบียบ การรับเด็ก ให้จริงจัง ไม่ใช่พิจารณาแค่ วาระรับทราบ.. |
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 22 พ.ค. 49  |
|
|
 |
ทั่วไป: ธ.ออมสินเพิ่มวงเงินครูกู้8พันล.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) จังหวัดต่างๆ ได้ดำเนินการสัมภาษณ์ครูที่มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูแล้วประมาณ 50,000 คน จากทั้งหมด 132,117 คน ซึ่งหลังจากสัมภาษณ์แล้วจะส่งเรื่องต่อให้ทางธนาคารออมสินได้พิจารณาอนุมัติเข้าร่วมโครงการและปล่อยเงินกู้ต่อไป โดยวงเงินให้กู้ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู รุ่นสอง มีอยู่แล้วประมาณ 4,000 ล้านบาท |
หนังสือพิมพ์มติชน: 18 พ.ค. 49  |
|
|
 |
ทั่วไป: ช่วยอุดมฯ แก้สภาพคล่องทางการเงิน
ที่ประชุมเห็นชอบการกำหนดเพดานกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ระดับอาชีวศึกษาและอนุปริญญาใหม่ หลังจากที่สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ขยายเพดานค่าธรรมเนียมการเรียนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนอัตราใหม่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี โดย กรอ.ได้กำหนดเพดานเงินกู้ระดับอาชีวศึกษาในสาขาช่างอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสิ่งทอ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กู้ได้ 30,000 บาทต่อปี ส่วนสาขาอื่นๆ อาทิ เกษตร ประมง คหกรรม ศิลปหัตถกรรม ศิลปกรรม พาณิชยกรรม และบริหารธุรกิจการท่องเที่ยว กู้ได้ 25,000 บาทต่อปี
|
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ: 18 พ.ค. 49  |
|
|
 |