News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 18, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

มศว เปิดตัวหมากฝรั่งเลิกบุหรี่ "นิโคมายด์-2"
มศว เปิดตัวหมากฝรั่งเลิกบุหรี่ "นิโคมายด์-2" ฝีมือคนไทยที่ผลิตหมากฝรั่งเลิกบุหรี่ได้เป็นครั้งแรก เพื่อช่วยสิงห์อมควันให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 27 ก.พ. เวลา 10.00-12.00 น. ที่ห้องแปดเหลี่ยม อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องฯ
หนังสือพิมพ์มติชน:  27 ก.พ. 50 
 
กิ๊ฟท์ ซิฟท์ และเด็กหลอดแก้ว
กิ๊ฟท์ (GlFT:gametes intra-fallopian transfer) และปรากฏว่าอัตราการตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ 30 ดังนั้น กิ๊ฟท์จึงเป็นที่นิยมกันมากในระยะนั้น รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จึงมีเป็น 2 แนวทาง

แนวทางหนึ่งคือ ย้ายตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอด ได้แก่ เด็กหลอดแก้ว วิธีนี้ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ

ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือ ย้ายเซลล์สืบพันธุ์ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ได้แก่ กิ๊ฟท์ วิธีนี้ต้องดมยาสลบ ผ่าตัดใส่กล้องส่องเข้าไปในช่องท้อง และต้องนอนพักในโรงพยาบาล

ทั้ง 2 แนวทางนี้ช่วงเริ่มต้นจะเหมือนกัน คือต้องฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นไข่ ตรวจถุงไข่จากอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดตรวจเลือด จนไข่สุกเต็มที่ เมื่อเจาะเก็บไข่ออกมาแล้ว จึงทำเด็กหลอดแก้วหรือกิ๊ฟท์ต่อ
หนังสือพิมพ์มติชน:  26 ก.พ. 50 
 
แพทย์ชี้ทั่วโลกพบ1ใน 5 ป่วยด้วยโรคปวดเรื้อรัง
ปัจจุบันอาการปวดเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ ของโลก จากการสำรวจประชากรในสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบว่า ประชากรวัยผู้ใหญ่ทุกๆ 1 ใน 5 รายมีภาวะปวดเรื้อรัง และยังเป็นสาเหตุอันดับสามของภาวะทุพพลภาพ หรือสูญเสียการเคลื่อนไหวและความสามารถในการทำงาน รองจากอาการปวดจากโรคเอดส์ โรคนี้พบได้ตั้งแต่อายุ 20-60 ปี เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชายเพราะสวมรองเท้าส้นสูง สะพายกระเป๋าหนัก ฯลฯ
หนังสือพิมพ์มติชน:  23 ก.พ. 50 
 
ทารกไทยภาวะโลหิตจางสูง 56.3% ให้กินไข่ขาวเร็วเกินเสี่ยงภูมิแพ้
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการจัดทำข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของทารกและเด็กก่อนวัยเรียนว่า จากการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2546 โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย พบเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเตี้ย ขาดอาหารเรื้อรัง 7.9% มีภาวะอ้วน 4% โดยพบภาวะอ้วนในทารก 2.6% มากกว่าเด็กอายุ 1-5 ปี ที่พบ 1.9% แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในอนาคตที่ว่าเด็กจะเสี่ยงต่อการมีภาวะอ้วนมากขึ้น
หนังสือพิมพ์มติชน:  23 ก.พ. 50 
 
ประเวศ"ชี้ 7 หนทาง สร้างสุขภาพให้ชุมชน
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ระบบสุขภาพชุมชนคือฐานรากของระบบสุขภาพ" ว่า การสร้างสุขภาพชุมชนต้องตั้งเป้าหมายให้ได้ 7 ประการ คือ 1.เศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการมีสัมมาชีพทุกพื้นที่ 2.สังคมไม่ทอดทิ้งกัน โดยเฉพาะคนแก่ เด็ก คนพิการ ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ 3.การดูแลรักษาโรคที่พบบ่อย เช่น โรคไข้หวัด ดูแลรักษาได้ที่ครอบครัว 4.ดูแลเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพราะคนไทยเป็นโรคนี้มากถึง 2.5% ของประชากร แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และไม่ได้รับการรักษาแบบต่อเนื่อง 5.การดูแลผู้สูงอายุ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ไปโรงพยาบาลลำบากควรมีพยาบาล หรือบุคลากรไปเยี่ยมบ้าน 6.การควบคุมโรคที่พบบ่อย เช่น ไข้เลือดออก ด้วยการทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีเศรษฐกิจพอเพียง และตื่นตัวที่จะทำงานร่วมกันทั้งการป้องกันโรค ยาเสพติด และ 7.การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
หนังสือพิมพ์มติชน:  23 ก.พ. 50 
 
แนะวิธีดูแลผิวสกัดโรคหน้าร้อน
.น.พ.ปิติ พลังวชิรา ผู้อำนวยการศูนย์ผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวมาก ผลเสียของอากาศจะทำให้หงุดหงิด และเกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เริ่มตั้งแต่ผดผื่นคัน ลมพิษ กลิ่นตัว ดังนั้น วิธีการป้องกัน ถ้าเกิดผดในวัยเด็กต้องให้เด็กอาบน้ำ ทาแป้งฝุ่น และใส่เสื้อผ้าบางๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเท หรือพยายามหาผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวบริเวณที่เริ่มมีอาการคัน อาการจะดีขึ้น
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  22 ก.พ. 50 
 
เตรียมระวังรักษาสุขภาพช่วงร้อน หันหลังให้ สะตอทุเรียนชั่วคราว
ศ.นพ.ปิติ พลังวชิรา ผู้อำนวยการศูนย์ ผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวมาก ผลเสียของอากาศจะทำให้หงุดหงิด และเกิดโรคผิวหนังได้ง่าย เริ่มตั้งแต่ผดผื่นคัน ลมพิษ กลิ่นตัว

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  22 ก.พ. 50 
 
"นิโคมายด์ 2" หมากฝรั่งอดบุหรี่สัญชาติไทย
หมากฝรั่งนิโคมายด์ 2 ถือเป็นหมากฝรั่ง เลิกบุหรี่ฝีมือคนไทย ซึ่งแต่เดิมประเทศไทย นำเข้าหมากฝรั่งเลิกบุหรี่จากต่างประเทศ มีราคาแพงนิโคมายด์ 2 ตั้งใจผลิตเพื่อคนไทย ที่ตั้งใจเลิกบุหรี่"

นิโคมายด์ 2 ผลิตขึ้นจากการวิจัยโดยใช้ หลักการทางเคมี กระบวนการทำงานจะเริ่ม ทันทีที่เกิดการเคี้ยว นิโคตินที่อยู่ในหมากฝรั่ง จะถูกปลดปล่อยเข้าสู่ระบบเลือด เป็นการเติม นิโคตินให้แก่เลือด ทำให้ความอยากบุหรี่ลดลงได้ โดยที่หมากฝรั่ง 1 เม็ดจะใช้เวลาทำงานราว 40 นาที
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ:  19 ก.พ. 50 
 
นิโคมายด์ 2 หมากฝรั่งเลิกบุหรี่ฝีมือไทยๆ อีกก้าวของการบำบัดเพื่อสิงห์อมควัน
นิโคมายด์" (Nicomild) ชื่อเรียกหมากฝรั่ง สำหรับผู้บำบัดผู้อยากอดบุหรี่ ฝีมือของ รศ.ดร.ยงยุทธ ตัณฑุลเวสส อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ที่ทำสำเร็จและประกาศตัวไปเมื่อปีก่อน พร้อมกับจดลิขสิทธิ์และขอจดทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไปแล้ว

มาครั้งนี้ เป็นการพัฒนาก้าวต่อไปของ "หมากฝรั่งนิโคมายด์ 2" ที่จะแถลงเปิดตัวในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้อย่างเป็นทางการ พร้อมกับวางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป
หนังสือพิมพ์มติชน:  19 ก.พ. 50 
 
มศวเตรียมเปิดตัวหมากฝรั่งเลิกบุหรี่ฝีมือคนไทย“นิโคมายด์ 2”
รศ.ดร.ยงยุทธ ตัณฑุลเวสส จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เจ้าของผลงาน “หมากฝรั่งเลิกบุหรี่นิโคมายด์ 2” ซึ่งทำความร่วมมือกับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มศว และบริษัท มิลลิเมด จำกัด กล่าวว่า

จะเปิดตัวหมากฝรั่งเลิกบุหรี่นิโคมายด์ 2 อย่างเป็นทางการ และจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ เวลา 10.00 น.
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก:  15 ก.พ. 50 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41]  42  [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online