News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
December  2024
Su M Tu W Th F Sa
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031
             
 Today is December 18, 2024
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท สุขภาพ

นิโคติน' ในบุหรี่-บุรี่ไฟฟ้า 'กดสมอง
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา เลขาธิการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ และหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า คนติดบุหรี่หรือติดนิโคติน เมื่อจะเลิกบุหรี่มักมีอาการลงแดงหรืออาการอยากบุหรี่ คือ หงุดหงิด งุ่นงาน ไม่เป็นตัวของตัวเอง ฉุนเฉียว ขี้โมโห โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อย่างเคยมีคนไข้เป็นศิลปินก็บอกวาดรูปไม่ได้ เหมือนไม่ใช่ตัวเอง
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ:  2 พ.ค. 66 
 
สภาผู้บริโภค จับมือ 10 สถาบันการศึกษา
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย 10 สถาบันการศึกษา จัดนิทรรศการ "คุณเสียหายเพื่อนพร้อมชน" ณ ลานกิจกรรม Eden (ชั้น 3) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยภายในงานจะมีผลงานนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วยฝีมือคนรุ่นใหม่ ภายใต้โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "ค่ายพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสำหรับคนรุ่นใหม่"
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  2 พ.ค. 66 
 
ฉีดวัคซีนโควิดฟรี จ.นนทบุรี เช็คจุดวอล์คอิน -ลงทะเบียนจองคิวได้ที่นี่
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในปัจจุบันที่พบตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นซึ่งในหลายพื้นที่และในจังหวัดต่าง ๆ เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดซึ่งเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นฟรี สำหรับจังหวัดนนทบุรีนั้นประชาชนที่สนใจสามารถวอล์คอิน (Walk In) หรือลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้าเพื่อรับบริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้ฟรี
ฐานเศรษฐกิจ:  25 เม.ย. 66 
 
สงกรานต์เดือด 4 โรคอันตราย
รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า สงกรานต์ ปีนี้มีอุณหภูมิความร้อนสูงกว่าทุกปี ทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือร่างกายไม่สมบูรณ์เกิดปัญหาเสียชีวิตได้
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  18 เม.ย. 66 
 
ชูเครื่องดื่ม“สารสกัดลำไยเข้มข้น P80”เหมาะดูแลสุขภาพ ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5
อากาศที่คลุ้งไปด้วยฝุ่น PM 2.5 ติดต่อกันมาเป็นเดือนครอบคลุมทั่วประเทศ ถูกจัดให้เป็น “พื้นที่มลพิษอันดับต้นๆ ของโลก” ซึ่งเป็นฝุ่นละเอียด เมื่อผสมลมหายใจเข้าไปในปอด จะส่งผลเป็นพิษร้ายแรงต่อร่างกายของคนในระดับเซลล์ (อ้างอิงเอกสาร ในหน้าที่ 7 และ 8 ผลจากทุนและการวิจัยของกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2563)
ฐานเศรษฐกิจ:  15 มี.ค. 66 
 
ภูมิทัศน์พรรณไม้'ลดฝุ่นPM2.5'
รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี และหัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย Remediation สถาบันพัฒนาฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งศึกษาวิจัยร่วมกับทีม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ให้ความรู้เล่าถึงงานวิจัยว่า ส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจกันว่าปลูกต้นไม้เยอะ ๆ จะช่วยลดฝุ่น แต่ในงานวิจัยครั้งนี้ทีมวิจัยจากทั้งสองมหาวิทยาลัยเราตั้งใจศึกษา ทำอย่างไรให้ปลูกอย่างเหมาะสม ไม่เยอะหรือน้อยกว่าเกินไป แต่มีประสิทธิภาพในการลดฝุ่นได้ดี
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  14 มี.ค. 66 
 
'ลูกยุคใหม่'ปิดไม่ได้ 'พ่อแม่ต้องคุย?'
ที่ปรึกษาโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม เคยสะท้อนกับ "ทีมสกู๊ปเดลินิวส์"ไว้ โดยสังเขปมีว่า..."ผู้หญิงกล้าแสดงออกมากขึ้น นี่เป็นเรื่องที่จะตอบได้ว่าทำไมในยุคปัจจุบันนี้มีผู้หญิงที่เป็นฝ่ายกล้าชักชวนผู้ชายไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกันมากขึ้น!!...การปลดปล่อยเรื่องนี้ ออกมาในสังคมปัจจุบัน...อาจนำไปสู่ค่านิยมที่ผิด ๆ ของผู้หญิงในเรื่องของการมีเซ็กซ์ โดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่น เช่น...ต้องได้ผู้ชายเยอะ ๆ หรือต้องได้ผู้ชายหล่อ ๆ มาครอบครอง..."
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  13 มี.ค. 66 
 
ท้องอืด อาหารไม่ย่อย อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด
หากคุณมีอาการปวดท้องส่วนบน ร่วมกับมีอาการท้องอืด แน่นท้อง มีลมในท้อง ต้องเรอบ่อย ๆ โดยมักมีอาการในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็ว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจบอกได้ว่าคุณกำลังเผชิญกับอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งอาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่หากมีอาการบ่อยจนเรื้อรังและมีอาการอื่นร่วมด้วย อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนโรคอื่น ๆ ได้
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน:  7 มี.ค. 66 
 
ต้นแบบ'สวนสกัด PM2.5' ลดฝุ่นแบบยั่งยืนด้วยระบบนิเวศป่าในเมือง
งานวิจัยที่น่าสนใจ คือ "การใช้ไม้ยืนต้นลดฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้แบบนิเวศป่าในเมือง" ผลงานทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ที่ทำงานศึกษาวิจัยและทำให้ทราบถึงชนิดพืชที่มีศักยภาพในการลดฝุ่น PM2.5 และกลไกการบำบัดฝุ่นด้วยพืช จนเกิดเป็นโมเดลต้นแบบ "สวนป้องกันฝุ่น PM2.5" แห่งแรกในบริเวณพื้นที่ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
หนังสือพิมพ์มติชน:  7 มี.ค. 66 
 
วช.โชว์โมเดล 'สวนป้องกันฝุ่น' ปลูกต้นไม้ถูกชนิดช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้
ดร.กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า สวน "ภูมิทัศน์พรรณไม้ลดฝุ่น PM 2.5"ประกอบไปด้วยต้นไม้ 3 ระดับ ไม้ขนาดใหญ่ เป็นต้นไม้เดิมจะปกคลุมชั้นเรือนยอด เช่น ราชพฤกษ์ประดู่บ้านและพิกุล ไม้ที่นำมาปลูกเพิ่มจะเป็นไม้ขนาดกลางและไม้ขนาดเล็ก โดยทั่วไปนั้นฝุ่นละอองเล็ก PM2.5 จะถูกพัดพาไปตามกระแสอากาศซึ่งสวนแห่งนี้ถูกออกแบบให้กระแสอากาศที่มาจากถนนไหลไปตามแนวพื้นที่ว่าง เกิดจากการปลูกต้นไม้ที่มีใบขนาดเล็กทรงโปร่งเป็นแนวดักลม เมื่ออากาศเคลื่อนที่ช้าลงทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กถูกดักจับด้วยใบพืชที่มีประสิทธิภาพในการลด PM 2.5 ประกอบกับความชื้นจากการคายน้ำของพืชเป็นตัวช่วยในการเพิ่มน้ำหนักให้กับฝุ่นละอองขนาดเล็กฝุ่นจึงเคลื่นตัวลดลง เพิ่มเวลาให้พืชช่วยดักจับฝุ่นขนาดเล็กได้
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  3 มี.ค. 66 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10]  11  [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [ Next -> ]

News Clips Online