คืนชีพทับทิมสยามด้วยวิทยาศาสตร์
ดวงแข บุตรกูล สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องเร่งอนุภาค และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัย เป้าหมายเพื่อพัฒนากรรมวิธีใหม่ในการปรับปรุงคุณภาพพลอยเกรดต่ำ ให้มีสีสวยสด เนื้อพลอยสะอาด ลดความขุ่นมัว สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเรือนเครื่องประดับ |
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ: 13 มิ.ย. 59 |
|
|
 |
ปั้นฝัน เดอะบัณฑิต # 3ถึงเวลาสืบสานงานหัตถศิลป์
กระดาษได้ เราก็จะสามารถนำไปต่อยอดเป็นงานหัตถศิลป์อื่นๆ ได้ เช่น จานรองแก้วหรือปกสมุด" อนันตญา ขยายความให้ฟัง ส่วน อดิรุจ พีรวัฒน์ ตัวแทนจาก มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ดำเนินโครงงาน "ผ้าไหมบุญพื้นถิ่น ถมไทยศุภสิน ปั้นสรรค์ศิลป์ แผ่นดินสู่ส่ากล" กล่าวว่า รายละเอียดของ โครงงานเน้นไปในรูปแบบผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้คิดค้นนวัตกรรมการผลิตงานถมปลอดสารพิษ โดยคิดค้นสูตรน้ำยาถมแบบใหม่ ซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้สวมใส่ |
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ: 10 มิ.ย. 59 |
|
|
 |
'แม่แจ่มโมเดล'สางต้นตอทำลายป่า หมอกควัน
การหาทางลดปริมาณเชื้อเพลิง ซึ่งหมายถึงต้น เปลือก และซังข้าวโพด เป็นอีกมาตรการที่นำมาแก้ปัญหา โดยแม่แจ่มมีต้น ตอ ใบ ข้าวโพด 6 หมื่นตัน รวมทั้งหาทางจัดการกับจุดโม่ หรือจุดเก็บ ซัง ใบ ข้าวโพด 36 จุด ปริมาณ 3.5 หมื่นตัน หาทางแปรสภาพให้ใบข้าวโพดกลายเป็นอาหารสัตว์ วัว ควาย ที่แต่เดิมชาวบ้านเลี้ยงแบบตามธรรมชาติ หากินเอง มากินเปลือกข้าวโพดที่ผ่านการหมัก ซึ่งมีคุณค่าอาหารเท่ากับหญ้าสด ส่วนซังข้าวโพดก็อยู่ระหว่างดำเนินการทำเป็นเชื้อเพลิงถ่านหุงต้ม โดยมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ช่วยพัฒนาความรู้ นอกจากนี้ยังหาทางอัดใบข้าวโพดให้ได้ 1 แสนก้อน หรือ 2.5 พันตัน จำหน่ายให้เอกชน ที่เหลือขนให้โรงงานไฟฟ้าชีวมวลพื้นที่นอกอำเภอ
|
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์: 4 เม.ย. 59 |
|
|
 |
งานวิจัยขายได้
ผลงานการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าพลอยแซฟไฟร์สีน้ำเงินธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีลำไอออน ผลงานของ ผศ.ดร.ดวงแข บุตรกูล เป็นหัวหน้าทีม ที่ได้ปรับปรุงคุณภาพพลอยดิบ คุณภาพต่ำ เนื้อไม่งาม ไม่ใสสะอาดตามต้องการ ประมาณว่า พลอยที่ขุดได้ จะเผาเอาไปขายได้ไม่ถึงครึ่ง แต่การปรับปรุงคุณภาพพลอยด้วยลำไอออน อาศัยการพุ่งชนของไอออน ที่ไม่ได้ใช้ความร้อนสูง ให้ผลกับคุณภาพพลอย ทำให้เนื้อใส สีสวยขึ้น สีหลักเด่นเข้มสด ส่วนด้อยที่เป็นตำหนิสีอื่นก็ลดลง เช่น สีน้ำเงินทึบ จะโปร่งขึ้น สีฟ้าอมเทา จะได้สีน้ำเงินเข้มสด แต่เนื้อพลอยไม่เสียหาย เพราะไม่ได้ใช้ความร้อน ถามนักวิเคราะห์พลอยในตลาดก็ยอมรับว่าเป็นธรรมชาติ เมื่อนำไปประกอบตัวเรือนจะเพิ่มมูลค่าได้
|
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์: 8 มี.ค. 59 |
|
|
 |
'น้องฟลิ้นต์' น้ำตาไหลเครียดหนักเจอศัพท์ไทยสุดหิน
รายการ "เก่งคิด พิชิตคำ Spelling Star" เป็นเกมการแข่งขันสะกดคำภาษาไทย ที่วัดทักษะการสะกดคำภาษาไทยที่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ทำเอาน้องผู้เข้าแข่งขันอย่าง "น้องฟลิ้นต์-ธรณ์ธันย์ สวัสดิมงคล" อายุ 11 ขวบ จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถึงกับเกิดอาการเครียดอย่างเห็นได้ชัด |
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง: 4 มี.ค. 59 |
|
|
 |
เพื่อวิทยาศาสตร์
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางการแพทย์ |
หนังสือพิมพ์ข่าวสด: 28 ก.พ. 59 |
|
|
 |
วิทยาศาสตร์สุดขอบฟ้า
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (แจ็กซา) จัดทำโครงการ Try Zero-G 2015 เปิดรับแนวคิดการทดลองวิทยาศาสตร์จากเยาวชนไทย ทดลองวิทยาศาสตร์เข้าร่วมจำนวน 81 เรื่อง ซึ่งทางแจ็กซาได้คัดเลือกไอเดียของเด็กไทยจำนวน 2 เรื่อง ขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยการทดลองวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 เรื่อง ประกอบด้วย การทดลอง "Zero-G Painting" ผลงานของ ด.ญ.วริศา ใจดี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และ ศวัสมน ใจดี โรงเรียนศรีบุณยานนท์ และ |
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ: 11 ธ.ค. 58 |
|
|
 |
'แจ็กซา'ท้าทดลองนอนหงายระบายสีน้ำ-สร้างลมในอวกาศ
"แจ็กซา"เลือกสุดยอดไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์จากเด็กไทย 2 เรื่อง คือ "การวาดภาพสีน้ำด้วยพู่กันในสภาวะไร้น้ำหนัก"(Zero-G Painting) และ "เราสามารถสร้างลมในอวกาศได้หรือไม่?" สำหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 เรื่องนั้นประกอบด้วยการทดลอง "Zero-G Painting" ไอเดียของ ด.ญ.วริศา ใจดีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และน.ส.ศวัสมน ใจดี โรงเรียนศรีบุณยานนท์ และการทดลอง"Can we make wind in the space?" ไอเดียของ 3 สาวนำโดย น.ส.สุภัสสร หวังพาณิชกุล น.ส.พชรา ภัทรบดี และน.ส.พิชญา กรีพร จากโรงเรียนมัธยมปัญญารัตน์
|
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ: 11 ธ.ค. 58 |
|
|
 |
ประกวดสิ่งประดิษฐ์อุดมศึกษาสร้างนักวิจัยดาวรุ่งสู่มืออาชีพ
รางวัลดีมาก กลุ่ม วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และ การแพทย์ ได้แก่ ผลงาน เครื่องช่วยฝึกเดินด้วยการช่วยพยุง น้ำหนักบางส่วน ของมหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์, กลุ่มเกษตรศาสตร์ ได้แก่ ผลงาน ชุดตรวจความไวสูงแบบแถบสีสำหรับตรวจเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, กลุ่มด้านศิลปะและการออกแบบ ได้แก่ ผลงาน สักการะเทวราช ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, กลุ่มด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ ผลงาน เครื่องสกัดน้ำขิงโดยการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลล์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
|
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์: 7 ก.ย. 58 |
|
|
 |
วันนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย 2558
กลุ่มบริษัท บี.กริม และ บริษัท นานมีบุ๊คส์ ผู้สนับสนุนภาคเอกชนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) จัดงาน "วันนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย 2558" |
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์: 20 ก.ค. 58 |
|
|
 |