อนุญาตให้ใช้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และบริษัท ไบโอแอดแวนเทค ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเทคโนโลยี งานวิจัยของ ธงชัย แก้วพินิจ และคณะ รวม 2 สัญญา ซึ่งบริษัท ไบโอแอดแวนเทค เป็นผู้รับอนุญาตทั้งสองสัญญา ภายในงาน มศว วิจัย ครั้งที่ 9 ณ มศว ประสานมิตร |
โพสต์ทูเดย์: 29 ก.ค. 59 |
|
|
|
นอกการแข่งขัน
อ.ไกรวิน วัฒนะรัตน์
Cyber Business มศว. facebook.com/morethan8lines
ความล้มเหลวในการสร้างผลกำไร จากการบริหารลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาของเคเบิลเจ้าใหญ่รายหนึ่ง และการที่ บีอิน สปอร์ต (BeiN Sport) ก้าวมาคว้าลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกแทน แสดงให้เห็นถึงอะไรหลายๆอย่างในโลกของกีฬา และโลกของธุรกิจ หลายคนวิจารณ์ว่าเป็นเพราะความไม่พร้อมในการบริหารจัดการในหลายๆเรื่อง ที่ผู้ถือลิขสิทธิ์รายเดิมทำได้ไม่ดีนัก อาจจะเพราะความเป็นมือใหม่ หรือ ยังมีประสบการณ์ไม่มากพอ ซึ่งผมคงไม่มีความรู้มากพอ และไม่ใช่หน้าที่ของผมที่จะไปตัดสินอะไรในส่วนนั้น แต่ผมมองว่ายังมีอีกส่วนที่ควรค่าแก่การพูดถึง |
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ: 26 ก.ค. 59 |
|
|
|
เตาเผาถ่านซังข้าวโพดเทคโนโลยี'แม่แจ่มโมเดล'
เทคโนโลยีทูอินวันดังกล่าวได้รับการคิดค้นแรกเริ่มโดย ผู้ใหญ่บ้านประสิทธิ์ ตระการฤทธิ์ จากบ้านโนนแดง หมู่ 13 ต.บุ่งคล้า อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และพัฒนาอีกขั้นโดย ดร.นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรม สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มศว ประสานมิตร โดยได้รับการสนับสนุนทุนส่วนหนึ่งจากทรู คอร์ปอเรชั่น |
หนังสือพิมพ์ข่าวสด: 31 พ.ค. 59 |
|
|
|
ปลอดภัยไว้ก่อน ใช้สมาร์ทโฟนแบบรู้เท่าทัน
ผศ.ดร.ชาญไชย ไทยเจียม กรรมการสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บรรณาธิการหนังสือ "ความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากการใช้โทรศัพท์มือถือจากเสาสัญญาณและโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพหรือไม่" อธิบายเหตุผลว่า
"รู้สึกว่าอ่านหนังสือพิมพ์ ตามข่าววิทยุและทีวี ก็เห็นว่ามีบางประเด็นที่ชาวบ้านไม่ได้เข้าใจเรื่องนี้จริงๆ แล้วก็เป็น กระแสสังคมแบบพาๆ กันไป อย่างเช่น ประโยคหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ ก็คือ 'ความถี่ของโทรศัพท์มือถือเป็นความถี่เดียวกับตู้อบไมโครเวฟ หมูยังสุกเลย แล้วคนจะไม่สุกเหรอ' แล้วก็ลือกันไปต่างๆ นานา ผมว่าถ้าปล่อยไปเลยตามเลย เราในฐานะสมาคมที่ทำเกี่ยวกับเรื่ององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ไม่ออกมาชี้หรือบอกกับคนในสังคมเลย สังคมก็น่าจะเดินไปข้างหน้ายาก |
โพสต์ทูเดย์: 10 พ.ค. 59 |
|
|
|
"เตาเผา" ลดควันภูมิ "ประสิทธิ์ ตระการฤทธิ์"
เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยสำนักนวัตกรรม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงร่วมกับสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โดย ดร.นฤภัทร ตั้งมั่นวรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ที่ต่อยอดนวัตกรรม "เตาเผาชีวภาพ" จากการคิดค้นของนายประสิทธิ์ ตระการฤทธิ์ เกษตรกรนักคิดด้านพลังงานทดแทน อดีตผู้ใหญ่บ้านโนนแดง ต.บุ่งคล้า อ.หล่มศักดิ์ จ.เพชรบูรณ์ อีกทางเลือกในการเผาซังข้าวโพด ลดผลกระทบ ทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นถ่านและปุ๋ยชีวภาพ
|
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก: 27 เม.ย. 59 |
|
|
|
ร่วมมือ
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางการแพทย์ ณ ห้องปฐมบริบท อาคารประสานมิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง: 3 มี.ค. 59 |
|
|
|
ร่วมมือ
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุลรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางการแพทย์ เมื่อเร็วๆ นี้ |
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก: 28 ก.พ. 59 |
|
|
|
ร่วมมือ
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางการแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อเร็วๆ นี้ |
หนังสือพิมพ์มติชน: 28 ก.พ. 59 |
|
|
|
ศธ.ทำแอพฯ5กลุ่มสาระผ่านอี-บุ๊ก
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) พร้อมด้วย นายสุเทพ ชิตยวงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ปฏิบัติหน้าที่ผอ.อค.ของสกสค. และน.ส.วีระนันท์ คำนึงวุฒิ ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยี
|
หนังสือพิมพ์ข่าวสด: 10 ก.พ. 59 |
|
|
|
สำรวจ 'ผลิตภัณฑ์ยาง' ไทยทำ-ไทยใช้ (6)วิจัยลดต้นทุน
ไชยา วรสิงห์" อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นอีกผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านหมอนยางพารา ให้ข้อมูลกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงงานผลิตหมอนยางพาราไม่กี่โรงเท่านั้น เนื่องจากในช่วงแรกการสร้างโรงงานผลิตหมอนยางพาราค่อนข้างแพง การลงทุนประมาณ 50 ล้านบาทขึ้นไป วัสดุมักทำจากอะลูมิเนียมที่ต้นทุนค่อนข้างสูง และมีน้ำหนักมาก ทำให้หมอนยางพาราในยุคแรกมีราคาแพงตามไปด้วย ตกอยู่ใบละ 4,000 บาท ทำให้ตนเองในขณะนั้นเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คลอง 16 ได้รับโจทย์ให้ทำแม่พิมพ์หมอนเพื่อสุขภาพ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนที่อยากทำธุรกิจนี้สามารถจับต้องได้ เพราะในขณะนั้นโรงงานแปรรูปหมอนยางพารามีไม่ถึง 10 โรงเท่านั้น
|
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ: 10 ก.พ. 59 |
|
|
|