News Clips Online
 หน้าหลัก  Login
ข่าวและกิจกรรม มศว
ข่าวและกิจกรรม มศว
May  2025
Su M Tu W Th F Sa
    123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
             
 Today is May 15, 2025
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
กีฬา
การแพทย์
สังคม
ทั่วไป
สุขภาพ
บันเทิง
ศิลปวัฒนธรรม
แฟชั่น

News Clips Online
News Clips  ประเภท การแพทย์

วิโนน่า ผนึก มศว ลงนาม MOU ใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า "ความร่วมมือครั้งนี้ บริษัท วิโนน่า เฟมินิน จำกัด ในฐานะพันธมิตรจากภาคเอกชน ได้เข้ามาร่วมมือกับ มศว ในการลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิ ผลงานเชื้อ จุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 โดย มศว มีนโยบายการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  7 พ.ย. 65 
 
'มศว'มอบจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยเอกชนต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะเจ้าของผลงานวิจัยเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกกล่าวว่า "เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium animalis TA-1 เป็นจุลิน ทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย ที่มีการพิสูจน์คุณสมบัติแล้วว่าเป็นโพรไบโอติกที่ดี และได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่ได้มาตรฐานเพื่อหาข้อพิสูจน์ว่ามีคุณสมบัติจำเพาะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แม้จะพบว่ามีคุณสมบัติเด่นในการลดไขมันและคอเลสเตอรอล เป็นสายพันธุ์ที่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยนั้นสามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียง เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก ไม่ใช่ยาหรือสารเคมี หากแต่เป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายของคนเราหากบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อเติมสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพองค์รวม
หนังสือพิมพ์ X-cite ไทยโพสต์:  4 พ.ย. 65 
 
4 นาทีแห่งความตาย ต้นเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอน
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี” อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า การขาดอากาศหายในเหตุชุลมุน มีสาเหตุมาจากการอยู่ในพื้นที่แออัด ทำให้มีการกดทับ เช่น พื้นที่เป็นซอยแคบขนาบข้างด้วยตึกและกำแพง เมื่อเกิดการแออัดมากๆ ทำให้เกิดการกดทับบริเวณทรวงอก ทำให้หน้าอกขยายออกไม่ได้ สิ่งนี้ทำให้ระบบการหายใจไม่เป็นปกติ หลังจากนั้นจะเกิดอาการหมดสติ และเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ:  1 พ.ย. 65 
 
โรคภูมิแพ้กับมลพิษ PM2.5 และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมลพิษ PM2.5
ผลกระทบของมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกคาดว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะเกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในอีก 28 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2593) และปัญหามลพิษทางอากาศของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐานชัดเจนแสดงถึงความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ทำให้กลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น
หนังสือพิมพ์แนวหน้า:  20 ก.ย. 65 
 
ฝึกเพิ่มพลังสมอง'ความจำ' 'สตรอง'ชะลอความเสื่อมถอย
การฝึกเพิ่มพลังสมองให้สตองช่วยการจดจำที่แม่นยำ มีเรื่องน่ารู้และมีวิธีการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอสมอง เสื่อม โดย พญ.อชิรญา สุวรรณหงส์ หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวช ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒให้ความรู้ในประเด็นนี้ว่า สมอง มีความสำคัญสามารถจะฝึกฝนพัฒนาได้ สมองมีหน้าที่หลายอย่าง โดยเรื่องของความจำเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ดังที่กล่าวมีผลต่อการใช้ชีวิต ประจำวัน การทำงานและการเรียนซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัยความจำและการจดจำ
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  6 ก.ย. 65 
 
นักเรียนทุนอานันทมหิดล สาขาทันตแพทยศาสตร์ ต่อยอดความรู้
รศ.ทพญ.ดร.อรุณวรรณ หลำอุบล ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หนึ่งในผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกทันตแพทย์ศาสตร์ ให้ไปศึกษาต่อที่ The University of Iowa สหรัฐอเมริกา ในสาขาพยาธิวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และทำวิจัยในระดับปริญญาเอก โดยที่มุ่งเน้นศึกษาเรื่องของกลไกการเกิดโรคมะเร็งช่องปากกล่าวว่า ทุนที่พระองค์ท่านให้ก่อเกิดประโยชน์กับคนมากกว่าหนึ่งคน แล้วก็ได้ให้กับประชาชนของพระองค์ท่านในวงกว้าง ซึ่งในฐานะที่ตนเองเป็นอาจารย์ก็ถ่ายทอดความรู้ให้กับนิสิตทันตแพทย์ที่เราสอนในหลายๆ มหาวิทยาลัย และในฐานะทันตแพทย์ก็ได้นำความรู้ที่ได้มาดูแลรักษาผู้ป่วยด้วย
หนังสือพิมพ์โลกวันนี้:  1 ก.ย. 65 
 
เปิดวิสัยทัศน์ “วรวุฒิ กุลแก้ว”กับภารกิจขับเคลื่อน มูลนิธิทันตนวัตกรรม
นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ซึ่งมูลนิธิทันตนวัตกรรมเป็นมูลนิธีที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมจากฝีมือนักวิจัยไทย เพื่อแก้ปัญหาโรคทางด้านทันตกรรมแบบครบวงจร ทั้งการวิจัยและพัฒนาตามมาตรฐานสากล
ฐานเศรษฐกิจ:  31 ส.ค. 65 
 
'ทนฟังไม่ได้'ใช่โรค? 'เกลียดเสียง' แปลกแท้..แต่'มีจริง!!'
เว็บไซต์ของงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวช ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับ "โรคเกลียดเสียง" นี้เอาไว้น่าสนใจเช่นกัน กล่าวคือ...จากสถิติแล้วนั้น ผู้ป่วยโรคเกลียดเสียงมักจะเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 9-13 ปี และส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้หญิง ซึ่งภาวะอาการนั้นจะค่อย ๆ เป็นไปทีละน้อย จะเกิดขึ้นไม่เร็ว ดังนั้นจึงทำให้จับสังเกตอาการไม่ค่อยได้ในระยะแรก ๆ ทว่าเมื่ออาการเกิดถี่ขึ้น หรือเป็นบ่อยขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงจะทราบว่าคน คนนั้นป่วยเป็นโรคเกลียดเสียง หรือมี "ภาวะมีโซโฟเนีย" เข้าให้แล้ว!!.
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์:  25 ส.ค. 65 
 
โรคระบาด: วิธีจัดการในอดีต
ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสูง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของหนังสือ "จากปีศาจ สู่เชื้อโรค" ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทยผู้ปลุกปั้นวิชาประวัติศาสตร์การแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ว่า วิธีการจัดการโรคระบาดในสมัยโบราณง่ายมาก คือ 1.ย้ายเมืองหนี 2.ทำพิธีปลอบขวัญ ก็จบ แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เราต้องขยายความบริบททางสังคมความเชื่อ ว่าทำไมต้องใช้วิธีการนี้
หนังสือพิมพ์ข่าวสด:  17 ส.ค. 65 
 
มอบรางวัล“โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ ด้านการแพทย์และสุขภาพรายใหม่”
ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กลาง) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลในงาน “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการด้านการแพทย์และสุขภาพรายใหม่” กิจกรรม : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์และสุขภาพ การ Pitching เพื่อการต่อยอดธุรกิจ โดยมี ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ที่ 3 จากซ้าย) และผศ.ดร.วีระนันท์ คำนึงวุฒิ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มศว
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ:  11 ส.ค. 65 
 

[ <- Prev ] [1] [2] [3] [4]  5  [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [ Next -> ]

News Clips Online